fbpx

คราฟต์ (Craft) นะครับ

งานคราฟต์ Craft โดยปกติแล้ว งานคราฟต์คือเป็นงานที่ใช้ฝีมือ มือมนุษย์ในการทำการผลิตชิ้นงานนั้นๆ ขึ้นมาโดยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยากที่จะเรียนแบบด้วยระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม สำหรับเรื่องเกี่ยวกับผ้าแล้วงานคราฟต์ในวงการผ้า ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าโดยการใช้เทคนิคพิเศษ (Hand Weave) ในแต่ละท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการ มัดหมี่ ขิด จก ล้วง และก็ยังมีการคราฟต์อีกรูปแบบหนึ่งที่รูปแบบการทออาจไม่พิเศษมากนัก แต่จะเน้นที่เส้นด้ายที่มีความพิเศษ แสดงถึงความเป็นฝีมือคนทำ คือการไม่สมบูรณ์แบบ เส้นด้ายที่ออกมาจะมีความเป็นสลาฟ มีความไม่เท่ากัน เล็กใหญ่ ความไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นมนต์เสน่ห์สำคัญ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า ผ้าที่ผลิตด้วยการทอมือ ผ้าทอพื้นบ้าน นั้นจะมีความแข็งแรงน้อย (Tensile Strength) ความแน่นในการทอ (Density) ต่ำและไม่สม่ำเสมอ แม้ในวงการแฟชั่นเอง ยังมีการเสริมความแข็งแรงด้วยผ้ากาว ยิ่งถ้าในอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ การเอาผ้าเหล่านี้มาใช้เป็นผ้าเฟอร์นิเจอร์ หรือบุโซฟาตัวโปรดของคุณนั้น ยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ผ้าจะสั้นมาก เพราะผ้านั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรับสภาวะของการใช้งานอย่างหนัก อย่างผ้าบุเฟอร์นิเจอร์โดยทั่วไป ซึ่งปกติผ้าบุเฟอร์นอเจอร์ต้องมีการทดสอบการขัดถู (Abrasion Resistance) ตามมาตรฐานสากล

30062 PENINSULA เมื่อมองในระยะใกล้ๆ

สำหรับคนที่โหยหามนต์เสน่ห์ของผ้าคราฟต์ มาเป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ วันนี้นิทัสเรามีผ้าบุเฟอร์เจอร์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สามารถผลิตเส้นด้ายให้มีความเหมือนกับเส้นด้ายปั่นด้วยมือ (Hand Spun) มีความเป็นสลาฟ เส้นเล็กใหญ่ แต่มีความแข็งแรง และเทคโนโลยีการทอที่ทันสมัยที่สามารถป้อนด้ายที่มีความไม่สม่ำเสมอเข้าในกระบวนการทอได้ ให้อารมณ์ของงานคราฟต์ได้อย่างเต็มเปี่ยม พร้อมด้วยความแข็งแรงของตัวเนื้อผ้า ที่ทุกตัวมีการทดสอบการขัดถู (Abrasion Resistance) ในมาตรฐานเดียวกับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์โดยทั่วไป

30066 PARADISO-101 CREAM

อีกทั้งคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ (Water Repellrnt) ที่เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ผ้าของคุณไม่เปื้อนและเก่าง่าย ช่วยเพิ่มอายุการใช้งาน แต่ด้วยลักษณะของเนื้อผ้าที่มีเท็กเจอร์ของผ้าที่ไม่เรียบเนียน ตามสไตล์งานคราฟต์ ประสิทธิภาพของการสะท้อนน้ำนี้ก็จะมากน้อยแตกต่างกันไป


ผ้าของนิทัส ที่ให้อารมณ์แบบงานคราฟต์

ซึ่งในรูปถ่ายอยู่ในขนาด 15×15 เซนติเมตร

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

รูปผ้าข้างบนเมื่อมองในระยะใกล้ๆ

จากปัญหา สู่ปัญญา Shrinkage Yarns

เคยเจอไหมกับปัญหาผ้าหด Fabric Shrinkage ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ หรือแม้กระทั่งยีนส์ตัวโปรดของคุณ เมื่อนำไปซัก ปรากฎว่าอยู่ๆเราก็ได้เสื้อผ้าเล็กลงหนึ่งไซส์หรือผ้าหดนั้นเอง ส่วนใหญ่แล้วผ้าหดมักจะเกิดกับผ้าที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ขนสัตว์ เป็นต้น แต่ทำไม่ผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์มักจะไม่ค่อยหดเท่ากับเส้นใยธรรมชาติ สาเหตุคือ

เส้นใยฝ้าย ดูจากลักษณะของเส้นใย แล้วจะมีลักษณะเส้นบิดตัวกันเป็นเกลียว เมื่อเรานำไปถึงขั้นตอนการผลิตเป็นเส้นด้าย จะมีการหวีและยืดดึง ก่อนจะมีการตีเป็นเกลียวเพื่อเส้นใยเหล่านั้นมีความแข็งแรงกลายเป็นเส้นด้าย จากนั้นในขั้นตอนการทอ การย้อม และตกแต่งสำเร็จ ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็จะมีการเซ็ตหน้าผ้าดึงให้ตรงตลอดเวลาด้วย และเสร็จออกมาเป็นผืนผ้า จนไปถึงการตัดเย็บ จากขั้นตอนจะเห็นได้ว่า จากตัวเส้นใยเอง และตัวผืนผ้าเองมีความเครียดสะสมตลอดมา และเมื่อเรานำไปซัก เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วว่าเส้นใยธรรมชาติมีความสามารถในการดูดซับความชื้นเข้าไปในตัวเส้นใย จึงทำให้เส้นใยมีความพองตัว และเมื่อโดนน้ำเส้นใยก็จะมีการคลายตัวจากขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมา ฉนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็เลยทำให้เห็นว่าผ้านั้นหดตัวลง ซึ่งจริงแล้วมันคือตัวเส้นใยเองได้รับความชื้นแล้วพองตัวขึ้น และผ่อนคลายจากการยืดดึง กลับมาเป็นเส้นหยิกงอบิดเกียวตามธรรมชาติเดิมนั้นเอง จากที่อธิบายมาข้างต้นก็เป็นสาเหตุเดียวกับว่าทำไมผ้าจากใยสังเคราะห์ไม่ค่อยหดตัว ก็เพราะเส้นใยสังเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ดูดซับความชื้นนั่นเอง

และด้วยปัญหาการหดตัวของผ้านี้เอง นักออกแบบสิ่งทอ (Textile Designer) ได้จับเอาปัญหานี้ มาเป็นไอเดียที่ว่าผ้าเราใช้เส้นด้ายที่มีการหดตัวสูงทอผสมกับเส้นด้ายที่ไม่หดตัว แล้ววางจังหวะลวดลาย และควบคุมการหดของผ้า เราจะได้ลวดลายผ้าที่นูนเป็นมิติออกมาอย่างสวยงาม

Shrinkage yarns ด้ายหดหรือที่เรียกว่าเส้นด้ายหดตัว “dimensional” or “controlled shrinkage yarns มักใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อสร้างการออกแบบลายนูนบนเนื้อผ้า เส้นด้ายประเภทนี้ได้รับการออกแบบให้หดตัวในระหว่างขั้นตอนการตกแต่ง ซึ่งจะสร้างเอฟเฟกต์สามมิติบนเนื้อผ้า ในการออกแบบลายนูนบนเนื้อผ้าโดยใช้เส้นด้ายหดตัว โดยทั่วไปแล้วเส้นด้ายจะทอเป็นลวดลายเฉพาะในเนื้อผ้า จากนั้นผ้าจะเข้าสู่กระบวนการตกแต่ง ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายที่หดตัว หดตัวและสร้างเอฟเฟกต์สามมิติบนเนื้อผ้า การออกแบบที่ได้จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของเส้นด้ายหดตัวและเทคนิคการเก็บรายละเอียดเฉพาะที่ใช้

รูปของผ้าที่ใช้เทคนิค Shrinkage yarns ในการสร้างลวดลายผ้า

รูปแสดงเข้าไปดูในระยะใกล้ของหน้าผ้า

รูปแสดงเข้าไปดูในระยะใกล้ของหลังผ้า จะเห็นเส้นด้ายหด Shrinkage yarns เส้นเล็กๆ ฝอยๆ จำนวนมาก ที่กำลังรั้งดึงผ้า ทำให้เกิดเป็นมิติลวดลายนูนออกมาอย่างสวยงาม

รูปตัวอย่างเส้นด้ายหด Shrinkage yarns

ด้ายหดตัวมีหลายประเภท จากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ขนแกะ (Wool) ซึ่งเป็นเส้นด้ายที่มีการหดตัวสูงอยู่แล้วตามธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะของด้ายหด เช่น ด้ายหดโพลีเอสเตอร์ (Polyester Shrinkage yarns)และ ด้ายหดไนลอน (Nylon Shrinkage yarns) เป็นต้น โดยขั้นตอน กำหนดอัตราการหดตัวของเส้นด้ายมีความสำคัญต่อการสร้างการออกแบบลายนูน กำหนดอุณหภูมิที่เส้นด้ายจะหดตัว และการออกแบบการทอเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อดีไซน์ของผ้า โดยจะออกแบบให้เรียบง่ายหรือซับซ้อนก็ขึ้นอยู่กับดีไซน์ที่วางไว้ ขั้นตอนการทอผ้าใช้เครื่องทอผ้าเหมือนการทอปกติ โดยคำนึงถึงอัตราการหดตัวของเส้นด้าย โดยเว้นพื้นที่บางส่วนไว้เพื่อสร้างเอฟเฟกต์นูน ต่อมาก็ถึงขั้นตอนการ ใช้ความร้อนเพื่อทำให้เส้นด้ายหดตัว หลังจากทอผ้าแล้ว ใช้ความร้อนเพือทำให้เส้นด้ายหดตัวซึ่งเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับเทคนิคต่างๆ รวมถึงการนึ่ง การซัก หรือการทำให้ผ้าเซ็ตตัวด้วยความร้อนและสร้างเอฟเฟกต์นูน อุณหภูมิและระยะเวลาในการให้ความร้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดของเส้นด้ายและอัตราการหดตัวที่ต้องการ โดยทั่วไป อุณหภูมิควรสูงพอที่จะทำให้เส้นด้ายหดตัว แต่ไม่สูงจนทำให้เนื้อผ้าเสียหาย

ตัวอย่างผ้าของบริษัท นิทัส เทสซิเล ด้วยนวัตกรรมขั้นสูงการใช้ด้ายหดมากำหนดเป็นลวดลายแบบนี้จะมีอยู่ในผ้าม่านราคาสูงเท่านั้น เพราะเป็นเทคนิคที่ยาก ต้องมีการคำนวน อย่างแม่นยำในการออกแบบลวดลาย ให้มีลักษณะออกมาสวยงาม สม่ำเสมอ ไม่มากไปจนทำให้ผ้าบิดเบี้ยว และด้วยลักษณะการนูนเป็นสามมิตินี้เอง จึงไม่เหมาะสำหรับพวกผ้ากันแสงต่างๆ เพราะแสงจะรอดได้ดีในส่วนของลายทอ และไม่นิยมกับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เช่นกัน เพราะเรื่องความแข็งแรงและอาจจะมีการเกี่ยวได้นั้นเอง นิยมใช้กับการตกแต่งของโรมแรม 5 ดาวขึ้นไป บ้านพักอาศัยที่ต้องการแสดงถึงความแตกต่างเหนือระดับ ไม่เหมือนใคร และผ้าแบบนี้ไม่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไป

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า สลาฟ

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า รัก เอ่ยไม่ใช้ สลาฟ ต่างหาก เราไปดูกันว่าเจ้า สลาฟ นี้มันคืออะไรกัน ไปดูกันเลย

เราคือเส้นด้ายที่ผลิตด้วยกระบวนการพิเศษที่เลียบแบบลักษณะเส้นด้ายปั่นด้วยมือ Handspun นั้นเอง ซึ่งจะมีความหนาบาง เป็นปุ่มปม เมื่อนำมาทอ ซึ่งจะทำให้มีลักษณะพิเศษคล้ายกับลักษณะธรรมชาติของด้ายที่มาจากการปั้นด้วยมือ

เส้นด้ายสลาฟในระบบการทอแบบอุสาหกรรมมันไม่ใช่ตำหนื แต่มันคือความตั้งใจเพื่อให้เข้าถึงมนต์เสน่ห์ของงานคราฟต์ (Craft) ในราคาที่จับต้องได้ และมีความแข็งแรง และความแน่นในการทอได้มาตรฐานตามกระบวนการผลิตในระบบอุตสหกรรมเคหะสิ่งทอ

ผ้านิทัสที่มีเทคนิคการใช้เส้นด้ายสลาฟ Slub Yarn มีผืนไหนที่น่าสนใจบ้างไปดูกันเลย

ผ้าม่าน Curtain


ผ้าม่านกันแสงหน้ากว้าง Wide Width Dim-out

ผ้าม่านทึบแสง Blackout


ผ้าม่านโปร่ง Sheer


ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ Upholstery


ผ้าหางกระรอก

นอกจากการแบ่งประเภทของผ้า เช่นผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์แล้ว ก็จะมีผ้าบางชนิดที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเองที่สามารถเรียกเป็นคำศัพท์เฉพาะอย่างเช่น ผ้าหางกระรอก คือผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยเส้นด้ายที่มีเทคนิคการใช้ด้ายสองสีมาตีเกียวกัน แล้วจึงนำไปทอจะเกิดมิติของลายผ้าที่แตกต่างกันของสีเส้นด้าย คล้ายกับหางกระรอก มีทั้งผ้าไหม และผ้าฝ้าย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า kind of short silk cloth

ตัวอย่างเส้นด้ายที่มีการเกียวกันของเส้นด้ายสองสี เป็นวิถีการทอผ้าของชาวบ้านแบบดังเดิมในแถบภาคอีสาน จะเป็นได้ตัวอย่างคือผ้าโสร่ง นั้นเอง

สำหรับบริษัทนิทัสแล้ว ถ้าคุณต้องการผ้าที่มีลักษณะเฉพาะที่เหมือนผ้าหางกระรอกนี้ เราขอแนะนำตัวอย่างผ้าดังนี้

ผ้าม่านกันแสง DIM-OUT

คลิ๊กชิ้นตัวอย่างผ้าเพื่อดูสีอื่นๆ เพิ่มเติม


ผ้าม่านกันแสงหน้ากว้าง WIDE WIDTH DIM-OUT

คลิ๊กชิ้นตัวอย่างผ้าเพื่อดูสีอื่นๆ เพิ่มเติม


ผ้าม่านทึบแสง BLACKOUT

คลิ๊กชิ้นตัวอย่างผ้าเพื่อดูสีอื่นๆ เพิ่มเติม


ย้อมสีแบบแครอท VS แตงกวา

เปิดมาแบบนี้รับรองว่าทุกคนได้ยินหัวข้อนี้แล้วรับรองว่างงแน่ๆ จริงๆแล้วมันคือการเปรียบเทียบคุณสมบัติการย้อมสีที่ต่างกัน ส่วนมันจะอะไรยังไงนั้นไปกันเลย

ในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอ ขั้นตอนการย้อมสีเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพื่อให้ผ้าที่เราได้นั้นมีสีสันที่สวยงาม คงทนต่อแสงและการซัก ซึ่งโดยปกติแล้วในการย้อมผ้าทั่วๆ ไป ทั้งในอุตสหกรรมเคหะสิ่งทอ หรือ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นเองก็ตามเราจะ รู้จักขั้นตอนในการย้อมหลัก เพียง Yarn dyed คือการย้อมสีตั้งแต่เป็นเส้นด้าย และค่อยนำเส้นด้ายนั้นไปทอเป็นผืนผ้า และ Piece-dyed คือการย้อมสีในขั้นตอนที่เป็นผืนผ้าแล้วนั้นเอง หรือในอุตสาหกรรมแฟชั่นก็จะมีการย้อมที่เรียกว่า Clothes Dyed คือการที่เราตัดเเย็บเสื้อผ้าสำเร็จออกแล้วค่อยนำไปย้อมนั้นเอง (อ่านบทความเรื่อง ย้อมก่อนทอ หรือทอก่อนย้อมดี? ที่นี้)

ซึ่งจริงๆ แล้วขั้นตอนการย้อมสีผ้ายังมีขั้นตอนที่ก่อนจะเป็นเส้นด้ายอีก คือการย้อมตั้งแต่เป็นเส้นใย Fiber Dyed คือการย้อมสีไปที่เส้นใยผ้าก่อนที่จะนำเส้นใยเหล่านั้นมารวมๆกัน แล้วตีเกียวเป็นเส้นด้ายนั้นเอง แต่นั้นก็ยังไม่ถึงขั้นตอนของเราในบทความนี้ การย้อมที่บทความนี้จะกล่าวถึงคือการย้อมที่เรียกว่า Solution Dyed หรือ Dope Dyed เป็นการย้อมที่ใช้ในเส้นใยสังเคราะห์ เช่นอะคริลิค ไนลอนและโพลีเอสเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปในขั้นตอนผลิตจะเริ่มจาก เม็ดพลาสติกหลอมแหลวแล้วฉีดขึ้นรูป เป็นเส้นใยยาว (Filament filter) เหมือนการทำเส้นขนมจีน (เป็นการเปรียบเทียมให้เห็นภาพ ซึ่งจริงๆแล้วการขึ้นรูปเส้นใยพลาสติก (พอลิเมอร์) มีหลากหลายวิธี ทั้งการหลอมละลายแล้วฉีด ทั้งการฉีดใต้สารละลาย เป็นต้น)

Solution Dyed จะเป็นการย้อมสี หรือใส่สีในขั้นตอนที่ตัวเม็ดพลาสติกกำลังหลอมละลาย ก่อนจะถูกฉีดออกมาเป็นเส้นใย สีจะเป็นเนื้อเดียวกับตัวเส้นใยนั้นเลย เหมือนเราผสมสีลงไปที่แป้งขนมจีนตั้งแต่แรกก่อนจะฉีดมันออกมาเป็นเส้น ไม่เหมือนวิธีการย้อมสีในขั้นตอนอื่นๆ ที่สีจะเคลือบหรือแทรกซึมเข้าไปในเส้นใยส่วนหนึ่งแต่ไม่เป็นสีนั้นทั้งเส้น จึงมีการเปรียบเทียบกันว่า Solution Dyed เหมือนแครอท และการย้อมแบบอื่นๆ คือแตงกวา (ในต่างประเทศเค้าจะเปรียบเทียบโดย เทียบแครอท กับ Radish หรือหัวไชเท้าแดง หัวไซเท้าที่ทรงเหมือนบีทรูท ด้านนอกแดงข้างในขาว แต่คนไทยหลายคนอาจไม่รู้จักกกับผักชนิดนี้)

ซึ่งแครอทเมื่อเราหั่นตัดขวางเป็นแว่นๆ สีด้านในของหัวแครอทก็ยังสีส้มเหมือนกับผิวด้านนอก ส่วนแตงกวานั้น เมื่อหั่นเป็นแว่นๆ จะเห็นเป็นสีขาวๆ เขียวๆ ไม่เหมือนผิวแตงกวาที่มีสีเขียวเข้ม นั้นเอง เหตุนี้จึงใช้ แครอทและแตงกวาเป็นการเปรียบเทียบการย้อมสีที่สามารถเป็นสีเดียวทั้งเส้นไม่ได้แค่เคลือบอยู่แค่รอบนอก นั้นเอง

การย้อมแบบ Solution Dyed ช่วยให้ผ้าสีไม่ตกจากการซัก หรือแม้กระทั่งการใช้สารฟอกขาวชนิดอ่อนๆ เนื่องจากสีเป็นเนื้อเดียวกับเส้นใยทั้งหมด เหมาะสำหรับร้านอาหาร โรมแรมโซนรับประทานอาหารเช้า ที่มักเจอกับปัญหาคราบสกปรกบ่อยๆ และผ้ากลุ่มกลางแจ้ง หรือผ้า Outdoor ส่วนใหญ่ทำด้วยเส้นด้าย Solution Dyed ทำให้มีความคงทนต่อแสงแดด ผ้าไม่ซีดจางง่าย และยังช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย โดยไม่ต้องกังวนเรื่องการซีดจางจากการซัก ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรอยเปื้อนอีกต่อไป ข้อเสียของผ้า Solution Dyed คือจะไม่สดใส เท่ากับการย้อมแบบ Yarn dyed หรือการย้อมในขั้นตอนที่เป็นเส้นด้าย และจะมีต้นทุนสูงกว่าการย้อมโดยทั่วไปเพราะต้องตัดสินใจตั้งแต่แรกเลยว่าต้องการสีใด ไม่สามารถผลิตจำนวนมากๆ แบบการย้อม Piece Dyed ที่สามารถทอผ้าขาวในจำนวนมากๆ เก็บไว้แล้วค่อยๆ แบ่งไปย้อมแต่ละสี ตามต้องการได้ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนเป็นอย่างมาก


เปิดดูตัวอย่างผ้าเอาท์ดอร์ของเรา

ข้อมูลเชิงลึกและผลการทดสอบผ้ากลุ่มเอาท์ดอร์


สรุปทิ้งท้ายลำดับการย้อมสีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีขั้นตอนในการย้อมในแต่ละช่วงของการผลิต เรียงจากต้นไปถึงปลายขั้นตอนดังนี้

  1. Solution Dyed /Dope Dyed: กระบวนการนี้เป็นการใส่สีลงไปในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ สีจะถูกเติมลงในขั้นการตอนละลายโพลิเมอร์ก่อนที่จะฉีดออกมาเป็นเส้นใย
    • ข้อดี: สีสม่ำเสมอทั่วทั้งผืนผ้า ทนต่อการซีดจางต่อการซัก/แสงแดด สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะใช้น้ำและพลังงานน้อยลงในการย้อมผ้า
    • ข้อเสีย: ต้องตัดสินใจตั้งแต่แรกเลยว่าต้องการสีใด ไม่สามารถผลิตจำนวนมากๆ แบบการย้อม Piece Dyed ที่สามารถทอผ้าขาวในจำนวนมากๆ เก็บไว้แล้วค่อยๆ แบ่งไปย้อมแต่ละสี ตามต้องการได้
  2. Fiber Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ย้อมในส่วนเส้นใยก่อนที่จะปั่นเป็นเส้นด้าย
    • ข้อดี: มีความคงทนของสีมากที่สุดรองจาก Solution Dyed เท่านั้น นิยมใช้ขั้นตอนนี้ในการย้อมสีของเส้นใยสังเคราะห์ที่ติดสียากอย่างเช่น Acrylic, Nylon, Polyethylene, Polypropylene เป็นต้น และสามารถทำให้เส้นด้าย 1 เส้น มีสีสลับอ่อนเข้ม หรือมีสองสีในด้ายเส้นเดียวกัน โดยการผสมเส้นใยที่ย้อมสีต่างกันก่อนจะนำไปปั่นตีเกียวเป็นเส้นด้ายนั้นเอง
    • ข้อเสีย: มีราคาแพงมากกว่า Yarn Dyed และอาจทำให้เส้นใยเสียหายได้ มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อม และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  3. Yarn Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ก่อนที่จะทอหรือถักเป็นผ้า
    • ข้อดี: สามารถทำให้ผ้า 1 ผืนมีสีได้มากกว่า 2 สี ขึ้นไป เพราะสามารถใช้ด้ายที่ต่างสีกัน ทอร่วมกันได้ตามจำนวนสีด้ายที่ต้องการ เกิดมีมิติของสีที่หลากหลายในผืนเดียวกัน มีความคงทนของสีมากว่าแบบ Piece Dyed
    • ข้อเสีย: จำเป็นต้องสต็อกสีของเส้นด้ายไว้เป็นจำนวนมากไว้เผื่อในการผลิต และด้วยเหตุนี้ทำให้ผ้า Yarn Dyed มีสีสันให้เลือกน้อยกว่าและมีราคาแพงมากกว่า Piece Dyed มีโอกาสสีตกและสีซีดจางบ้างเล็กน้อย มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อม และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  4. Piece Dyed: สามารถย้อมสีได้ทั้งในเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ หรือแม้กระทั่งผ้าที่มีเส้นใยผสมก็ตาม
    • ข้อดี: สามารถทอผืนผ้าดิบสีขาวเก็บได้ในปริมาณมากๆ แล้วแบ่งมาย้อมเป็นสีต่างๆได้ง่าย ประหยัดต้นทุน และมีความสม่ำเสมอของสีที่ดี
    • ข้อเสีย: ในผ้าหนึ่งผืนที่มีเส้นใยชนิดเดียวก็จะสามารถย้อมได้เพียง 1 สีเท่านั้น ถ้าต้องการให้ผ้า 1 ผืนมีมากกว่า 1 สี จำเป็นต้องออกแบบให้ผ้านั้นมีส่วนผสมของเส้นใยที่กินสี (ดูดซับสี) ต่างกัน เช่น Polyester และ Cotton เพราะเวลาย้อมสี เส้นใยทั้งสองชนิดจะใช้เคมีในการย้อมที่ต่างกันและ อุณหภูมิในการย้อมก็ต่างกันด้วย และอาจเกิดผ้าหดตัว ปัญหาสีตก และสีซีดจางได้ มีการใช้น้ำในกระบวนการย้อมจำนวนมาก และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย
  5. Clothes Dyed: การย้อมเสื้อผ้าสำเร็จรูป (สำหรับอุตสหกรรมแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย)
    • ข้อดี: ทำให้มีเทคนิคในการย้อมสีได้หลากหลาย เช่นการมัดย้อม การย้อมไล่สี การย้อมเฉพาะส่วนที่มีความต่อเนื่องของส่วนตะเข็บ เป็นต้น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าตัวเดิม
    • ข้อเสีย: การกระจายสีอาจไม่สม่ำเสมอ การหดตัวของเสื้อผ้า และมีการใช้น้ำในกระบวนการย้อมจำนวนมาก และปัญหาการปล่อยน้ำเสีย

ผ้าทางรถไฟ Railroaded fabric?

คำว่า “Railroad แปลว่าทางรถไฟ” ถ้าจะหมายถึงอย่างนั้นแล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับผ้ากันละ วันนี้นิทัสชวนมาทำความเข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการวางทิศทางลายผ้าไม่ว่าจะเป็น การทอขึ้นลายหรือพิมพ์ลายก็ตาม ซึ่งการวางทิศทางลายในการผลิตนั้นมีผลกับการวางลายผ้าของโซฟา การเย็บ รอยต่อตะเข็บ ซึ่งโดยปกติทิศทางของลายผ้าจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ

  • ลายเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture
  • ลายผ้าเข้า/ขึ้นม้วน Regular Pattern / Up the Roll
  • ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern / Top to Selvedge
  • ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

1. ผ้าลายเรียบ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture

ผ้าเรียบ-เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture แน่นอนว่าผ้าเรียบๆ หรือมีเท็กเจอร์เล็กน้อยๆ เป็นผ้าที่ใช้ง่ายสามารถบุโซฟาได้ทั้งแนวตั้งโดยมีการต่อตะเข็บ หรือกลับม้วนดึงยาวตามแนวความยาวของโซฟาได้เลย


2. ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern/Conventional เป็นการวางทิศทางของผ้าแบบปกติ คือ เมื่อเรากำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางปกติลายตั้งขึ้น ในรูปตัวอย่างเป็นเป็นลายทางแนวตั้ง (Striped) ซึ่งรูปแบบทิศทางการวางลายแบบนี้ก็จะเป็นปกติสำหรับผ้าทั่วๆไป รวมถึงผ้าม่านก็เช่นกัน แต่ในส่วนของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ในรูปตัวอย่างถ้าเราต้องการลายโซาเป็นแนวตั้ง ในการวางแล้วทอแบบนี้ ในกรณีโซฟา1 ที่นั่ง หรืออาร์มแชร์ ที่ความกว้างไม่มากนัก ก็สามารถวางลายตามทิศแนวตั้งนี้ได้เลย แต่สำหรับโซฟา 2 ที่นั่งขึ้นไป จำเป็นต้องมีการต่อผ้าเป็นช่วงๆ เพื่อให้ได้ความต่อเนื่องไปตามความยาวของโซฟา ซึ่งเทคนิคการต่อตะเข็บของผืนผ้านี้ก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับกะการต่อตะเข็บของโซฟาหนังแท้ เพราะตัวหนังแท้เองก็มีขนาดจำกัดเช่นเดียวกันนั้นเอง


3. ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern เป็นการวางทิศทางของผ้าโดย กำหนดให้ม้วนผ้าอยู่ทางด้านบนแล้วดึงผ้ายาวออกมาจากม้วน ริมผ้า (Selvedge) จะอยู่ทางซ้ายและขวามือ ลวดลายผ้าที่ปรากฎ จะเป็นลายที่มองในทิศทางนอน ในรูปตัวอย่างเป็นเป็น ลายทางแนวนอน ซึ่งผ้าแบบ Railroaded นี้จะสามารถวางลายยาววิ่งไปตามความยาวของโซฟาได้โดยไม่มีรอยต่อ ซึ่งลักษณะการที่วางวิ่งยาวไปได้เลื่อยๆ ตามความยาวโซฟานี้แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเรียงตัวของไม้หมอนของรางรถไฟ จึงทำให้เราเรียกทิศทางการทอผ้าในรูปแบบขวางม้วนแบบนี้เรียกว่า Railroaded ซึ่งทำให้บุโซฟาที่มีความยาวได้โดยไม่มีรอยต่อ เพิ่มคามสวยงาม และช่วยประหยัดงบประมาณได้อีกด้วย


4. ลายผ้าทุกทิศทาง All Direction Pattern

ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เป็นลายผ้าที่ออกแบบมาให้ใช้ได้ทุกด้าน สามารถนำไปบุโซฟาได้ทุกด้าน ทุกแบบและความยาว


ตัวอย่างโซฟา 3 ที่นั่ง

โซฟาสามที่นั่ง จะเห็นว่าโซฟาตัวอย่างประกอบด้วยการหุ้มผ้า 3 ส่วน

  1. ส่วนหมอนหรือเบาะพนักพิงหลัง
  2. ส่วนเบาะรองนั่ง
  3. ส่วนโครงโซฟาหุ้มผ้าทั้งหมด

รูปทิศทางการวางลายของโซฟาที่ถูกต้อง

ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern ในส่วนของเบาะพนักพิงหลังและเบาะรองนั่งสามารถตัดเย็บได้ด้วยผ้า ลายเข้าม้วน แต่ในส่วนโครงโซฟา จำเป็นต้องต่อตะเข็บผ้า ไม่สามารถกลับลายผ้าได้ ตามตัวอย่างที่แสดง

ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern สามารถให้บุโซฟาได้ทุกส่วนทั้งส่วนที่มีพื้นที่เล็กอย่างส่วนเบาะพนักพิงหลัง และเบารองนั่ง แม้กระทั้งในส่วนโครงโซฟาทั้งหมดที่มีความยาว


ตัวอย่างการวางทิศทางของผ้าที่ไม่ควรทำ คือการวางลายตะแคง หรือหมุนลายผิดทิศทางของ Design


และผ้าของนิทัสเองก็จะมีสัญลักษณ์บอกทิศทางของผ้ากับตัวอย่างเล่ม โดยจะบอกทิศทางของริมผ้าเป็นหลังตามสัญลักษณ์ดังนี้

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางซ้ายและขวามือ ซึ่งการโชว์ผ้าในทิศทางนี้เป็นทิศทางหลักของผ้าในเล่มตัวอย่าง

จากตัวอย่างที่เห็น ริมผ้าจะอยู้ทางบนและล่าง การโชว์ผ้าในทิศทางนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าที่มีหน้าผ้ากว้างกว่า 150 ซม. หรือเรียกว่าผ้าหน้ากว้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะกว้างอยู่ที่ 280-320 ซม. ซึ่งเวลาในการใช้งานจะหมุนผ้าใช้ในแนว Railroaded


และเราก็ยังมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงผ้าที่มีลวดลาย แสดงว่าผ้านั้นมีทิศทางของลายในทิศทางไหนดังนี้

จากสัญลักษณ์ที่แสเงตัวอย่าง คือ 1) ลายเรียบ/เท็กเจอร์เล็กน้อย Plain & Texture 2) ลายผ้าเข้าม้วน Regular Pattern 3) ลายผ้าขวางม้วน Railroaded Pattern 4) ลายผ้าทุกทิศทาง Around Direction Pattern เรียงตามลำดับ


ผ้ากันน้ำ คืออะไร ?

‘ผ้ากันน้ำ’ เป็นผ้าที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ ซึ่งผ่านการตกแต่งพิเศษ หรือเคลือบสารบางชนิด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมลงเนื้อผ้าได้  โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • Water Repellent สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ในรูปแบบง่ายๆ คือ เมื่อมีน้ำสัมผัสกับผ้า น้ำจะไม่สามารถซึมผ่านผ้านั้นได้ระยะเวลาหนึ่ง  เหมือนน้ำที่กลิ้งบนใบบัว แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำความสะอาดสักพัก น้ำนั้นจะซึมลงบนตัวผ้า ทำให้ผ้าชื้นและเปียก นิยมนำมาใช้กับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เพราะเป็นการตกแต่งพิเศษที่เพิ่มคุณสมบัติให้กับเนื้อผ้า โดยไม่ทำให้ผิวสัมผัสของเนื้อผ้าแตกต่างจากเดิมมาก
  • Water Proof ต่างจาก Water Repellent คือตัวเนื้อผ้ามีลักษณะกันการซึมลงของ ของเหลวไม่ว่าจะเป็นน้ำ หรือไวน์ หรืออะไรก็ตาม จะไม่สามารถซึมผ่านผ้า หรือวัสดุดังกล่าวได้ 100% และทำให้วัสดุ ในชั้นถัดไปไม่ว่าจะเป็น เบาะรอง จะไม่ได้รับความเสียหาย เช่นการเปื้อนที่ไม่สามารถนำไปซักได้ หรือ แม้กระทั่งการก่อให้เกิดการขึ้นรา ก็ตาม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเคลือบฟิล์มบางๆ เคลือบไปที่ผิวหน้า หรือไม่ก็มีการเคลือบไว้ด้านหลัง หรือแม้กระทั่งตัววัสดุเองมีลักษณะเป็นแผ่น ที่ไม่สามารถให้น้ำผ่านได้ เช่น พวกหนังเทียม เป็นต้น แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ แม้ว่าตัวผ้าหรือวัสดุนี้จะเป็นคุณสมบัติการกันได้ 100% แต่ในกระบวนการผลิตขึ้นชิ้นงานที่มีการตัดเย็บ ซึ่งจะทำให้เกิดรูเล็กๆ ตามตะเข็บตามรอยต่อ ฉนั้นอาจทำให้ความชื้น หรือของเหลวซึมผ่านไปได้ ในจุด จุดนั้น ฉนั้น ไม่ควรนำผ้ากันน้ำดังกล่าวไปใช้ และทิ้งไว้ ให้ได้รับความชื้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การตากฝน หรือ แม้ทำน้ำหกแล้ว ก็ควรเช็ดทำความสะอาดทันที

ความแตกต่างหลักระหว่าง Water Proof และ Water Repellent คือการซึมของน้ำ

วัสดุที่มีลักษณะ Water Proof หรือกันน้ำการออกแบบมาเพื่อป้องกันการแทรกซึมของน้ำอย่างสมบูรณ์ แม้อยู่ภายใต้การสัมผัสเป็นเวลานาน ซึ่งหมายความว่าวัสดุกันน้ำสามารถจมอยู่ในน้ำได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ให้น้ำซึมผ่าน ในทางกลับกัน วัสดุที่มีคุณลักษณะ Water Repellent หรือสะท้อนน้ำ การออกแบบมาให้ต้านทานการซึมผ่านของน้ำ แต่ไม่จำเป็นต้องป้องกันได้ทั้งหมด วัสดุไม่ซับน้ำจะช่วยให้น้ำบางส่วนซึมผ่านได้หากสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน แต่ยังคงช่วยป้องกันฝนเล็กน้อยหรือน้ำกระเซ็นได้

ตัวอย่างเช่น ผ้ากันน้ำสามารถจมอยู่ในน้ำได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ให้น้ำซึมผ่าน ในขณะที่ผ้าสพท้อนน้ำสามารถทนต่อฝนเล็กน้อยและน้ำกระเซ็นได้ แต่ไม่สามารถสัมผัสกับฝนตกหนักเป็นเวลานาน โดยสรุป ผ้ากันน้ำ ป้องกันการแทรกซึมของน้ำได้อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ผ้าสะท้อนน้ำ จะต้านทานการซึมผ่านของน้ำในระดับต่างๆ

Water Repellency (Spray Test) Standard

  • ISO 4920 Determination of resistance to surface wetting (spray test)
  • EN 24920 Textiles – determination of resistance to surface wetting (spray test) of fabrics
  • AATCC 22 Test method for water repellency: spray
  • JIS L 1092 Testing methods for water resistance of textiles
  • TISI 121 book 22 การต้านการเปียกน้ำของผิวผ้าโดยวิธีพ่นน้ำ

มาตรฐานการทดสอบการสะท้อนน้ำ Water Repellent มีหลายมาตรฐานด้วยกันแต่ส่วนใหญ่จะมีการทดทอบแบบด้วยกันที่เรียกว่า Spray Test ตามรูปอุปกรณ์ด้านล่างนี้

และผลการทดสอบ โดยจะเทียบกับรูปตัวอย่างตามรูปด้านล่าง เพื่อเปรียบเทียบความว่าอยู่ในระดับใด


คุณสามารถทราบถึงคุณสมบัติดังกล่าวของผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ
จากการสังเกตุสัญลักษณ์ดังรูปด้านล่างนี้


ดูเล่มตัวอย่างผ้าสะท้อนน้ำ คลิก!!!


TISI หรือ มอก. ที่เกี่ยวกับการทดสอบสิ่งทอ

TISI Certification หมายถึงการรับรองคุณภาพสินค้าและบริการโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าและบริการอุตสาหกรรม (TISI) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐานสินค้าและบริการในประเทศไทย เพื่อให้การผลิตและใช้งานสินค้าและบริการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน และมีคุณภาพสูงสุด โดย TISI Certification จะให้การรับรองคุณภาพต่าง ๆ ได้แก่ การรับรองสินค้าตามมาตรฐาน TISI, การรับรองสินค้าตามมาตรฐานชั้นนำของต่างประเทศ เช่น ISO, IEC, EN, UL, และการรับรองคุณภาพการบริการตามมาตรฐาน TISI Service ซึ่งมีไว้สำหรับบริการต่าง ๆ

ซึ่งเราจะมาดูกันว่ามาตรฐาน TISI หรือ มอก. นี้มีมาตรอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการทดสอบผ้า เช่น เส้นใย เส้นด้าย ชนิดของสีย้อม ลักษณะทางกายภาพของผืนผ้า ความกว้างความยาว ความแข็งแรง หรือ การทดสอบความซีดจางของผ้าต่อปัจจัยต่างๆ หรือการทดความคงทนต่อการขัดถู ซึ่งเป็นการทดสอบสำคัญของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เราได้รวบรวบไว้ทั้งหมดดังต่อไปนี้

มอก. 121วิธีทดสอบสิ่งทอ / Standard test methods for textiles
เล่ม 2-2552 ความคงทนของสีต่อแสงซีนอนอาร์ก
Colour fastness to xenon arc light
เล่ม 3-2552ความคงทนของสีต่อการซักด้วยสบู่ หรือ สบู่และโซดา
Color fastness to washing with soap or soap and soda
เล่ม 4-2552ความคงทนของสีต่อเหงื่อ
Color fastness to perspiration
เล่ม 5-2552ความคงทนของสีต่อการขัดถู
Standard test methods for textiles part 5 colour fastness to rubbing
เล่ม 6-2552ขนาดเส้นด้าย
Determination of linear density of yarn
เล่ม 7-2552เกลียวของเส้นด้าย
Twist in yarns
เล่ม 8-2553แรงดึงและการยืดที่ทำให้เส้นด้ายขาด
Yarns from packages-determination of single-end breaking force and elongation at break
เล่ม 9-2552แรงดึงสูงสุดและการยืดของผ้าที่แรงดึงสูงสุด โดยวิธีดึงเต็มหน้ากว้างของชิ้นทดสอบ
Tensile properties of fabrics-determination of maximum force and elongation at maximum force using the strip method
เล่ม 10-2553ความกว้างของผ้า
Determination of fabric width
 เล่ม 11-2553ความยาวของผ้า
Determination of fabric length
เล่ม 12-2553มวลของผ้าทอต่อหน่วยความยาว และมวลของผ้าทอต่อหน่วยพื้นที่
Woven fabrics-determination of mass per unit length and mass per unit area
เล่ม 13-2553จำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาวของผ้าทอ
Woven fabrics-determination of number of threads per unit length
เล่ม 14-2552การประเมินการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี โดยใช้เกรย์สเกลและเครื่องมือ
Grey scale and instrumental assessment of colour change and staining
เล่ม 15-2554ชนิดเส้นใย
Identification of fibers
  เล่ม 16-2553แรงดึงสูงสุดของผ้าโดยวิธีแกรบ
Tensile properties of fabrics determination of maximum force using the grab method
เล่ม 17-2553แรงฉีกขาดของผ้าทอโดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึงชนิดอัตรายืดคงที่
Determination of tear force of fabrics using constant rate of extension testing machine
เล่ม 18-2553แรงฉีกขาดของผ้าทอโดยใช้เครื่องทดสอบแบบเอลเมนดอร์ฟ
Determination of tear force of fabrics using ballistic pendulum method (Elmendorf)
  เล่ม 20-2552การเปลี่ยนแปลงขนาดของผ้าเมื่อแช่น้ำเย็น
Determination of dimensional changes of fabrics induced by cold–water immersion
 เล่ม 21-2552การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทำให้แห้ง
Determination of dimensional changes in washing and drying
เล่ม 22-2552การต้านการเปียกน้ำของผิวผ้าโดยวิธีพ่นน้ำ
Resistance to surface wetting: spray test
เล่ม 23-2552ความต้านน้ำซึมโดยใช้เครื่องทดสอบแบบความดันน้ำสถิต
Determination of resestance to water penetration-hydrostatic pressure test
เล่ม 24-2553ความหนาของผ้า
Thickness of fabrics
เล่ม 25-2552ความคงทนของสีต่อน้ำ
Colour fastness to water
เล่ม 26-2552ส่วนผสมของเส้นใย 2 ชนิด
Binary mixtures of fibres
เล่ม 27-2552แรงดึงตะเข็บของผ้าและวัสดุสิ่งทอ
Seam tensile properties of fabrics and made-up textile articles
เล่ม 28-2552ความต้านทานการลื่นของเส้นด้ายในผ้าทอที่ตะเข็บ
Determination of the slippage resistance of yarns at a seam in woven fabrics
 เล่ม 29-2554การประเมินการต้านแบคทีเรียของสิ่งทอ (วิธีเชิงคุณภาพ)
Textile fabrics-assessment of antibacterial activity (qualitative method)
เล่ม 30-2554การประเมินการต้านแบคทีเรียของสิ่งทอ (วิธีเชิงปริมาณ)
Textile fabrics-assessment of antibacterial activity (quatitative method)
เล่ม 31-2553การติดไฟของเสื้อผ้า
Flammability testing of clothing textiles
 เล่ม 32-2556ความเป็นกรด-ด่างของสารสกัดด้วยน้ำ
Determination of pH of aqueous extract
เล่ม 33-2556ฟอร์แมลดีไฮด์อิสระและฟอร์แมลดีไฮด์จากการแยกสลายโดยวิธีสกัดด้วยน้ำ
Determination of formaldehyde (free and hydrolysed formaldehyde) – water extraction method
เล่ม 34-2556การขึ้นขนและเม็ดที่ผิวผ้าโดยวิธีโมดิไฟด์มาร์ทินเดล
Determination of fabric propensity to surface fuzzing and to pilling : modified martindale method
เล่ม 35-2556ความคงทนของสีต่อการกดทับด้วยความร้อน
Colour fastness to hot pressing

Technical Details Outdoor Fabric

Outdoor Fabric ผ้าสำหรับใช้กลางแจ้งได้รับการออกแบบและดูแลเป็นพิเศษสำหรับใช้ในงานกลางแจ้ง เช่น เฟอร์นิเจอร์นอกชาน เบาะรองนั่ง ร่ม กันสาด ผ้าคลุมเรือ และเต็นท์ ผ้าเหล่านี้มักทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น Acrylic, Polyester, Nylon หรือ Vinyl ซึ่งมีความทนทานสูง ทนต่อแสงแดดและสภาพอากาศ และทนต่อความชื้น ความร้อน และความเย็นได้

คุณสมบัติทั่วไปบางประการของผ้ากลางแจ้ง ได้แก่ :

  1. Water repellent สะท้อนน้ำ : ผ้าที่ใช้กลางแจ้งมักได้รับการเคลือบด้วยสารไม่ซับน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าสู่เนื้อผ้าและทำให้เกิดความเสียหาย
  2. UV resistance ทนทานต่อรังสียูวี : ผ้าที่ใช้กลางแจ้งได้รับการออกแบบมาให้ต้านทานการซีดจางและการเสื่อมสภาพจากการสัมผัสกับแสงแดด
  3. Mildew resistance ทนต่อการขึ้นรา : ผ้ากลางแจ้งมักได้รับการบำบัดด้วยสารต่อต้านจุลินทรีย์เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและโรคราน้ำค้าง
  4. Durability ความทนทาน: ผ้าที่ใช้กลางแจ้งได้รับการออกแบบมาให้ทนทานต่อการสึกหรอ จึงมักทำจากวัสดุที่ใช้งานหนักซึ่งสามารถรองรับการใช้งานและการใช้งานในทางที่ผิดได้ในระดับสูง
  5. Easy maintenance ดูแลรักษาง่าย: ผ้าสำหรับใช้กลางแจ้งหลายชนิดได้รับการออกแบบมาให้ทำความสะอาดได้ง่าย โดยมักใช้ผ้าหมาดเช็ดง่ายๆ

เมื่อเลือกผ้าที่ใช้กลางแจ้ง สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การใช้งานและเงื่อนไขที่จะต้องสัมผัส การเลือกผ้าสำหรับกลางแจ้งคุณภาพสูงที่ออกแบบมาเพื่อความต้องการของคุณโดยเฉพาะสามารถช่วยให้มั่นใจได้ว่าเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง เบาะรองนั่ง และสิ่งของอื่นๆ ของคุณจะคงอยู่ไปอีกนานหลายปี

TECHNICAL DETAILS

10724 SKYLINE

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Polyester
Weight น้ำหนัก315 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
ISO 12947-2:201630,000 cycles
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
ISO 105-B02:20147-8 (max 8)

10725 SUNNY, 10726 SUNNY, 10727 SUNNY, 10728 SUNNY

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Solution Dyed Olefin
Weight น้ำหนัก190 g/sqm
Finishing ตกแต่งสำเร็จTeflon®  Water Repellent
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
UNE EN ISO 12947-220,000 cycles
Colour Fastness to Chlorinated Water
ความคงทนของสีต่อน้ำคลอรีน
UNE EN ISO 105-E03:19975 (max 5)
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
UNE EN ISO 105-B02:2014 
AATCC 16.3
>7 (max 8)
4-5 (max 5)
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
UNE EN ISO 105-X12:19964-5 (max 5)
 Dimensional Stability to Washing
 การเปลี่ยนแปลงขนาดหลังการซัก
UNE EN 25077:1996Weft -0.4%
Warp -0.3%
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
UNE EN ISO 12945-25 (max 5)
Seam Properties (Slippage)
สมรรถนะของตะเข็บ
EN ISO 13936-2Weft 3.0 mm
Warp 3.0 mm
Tearing Strength
ความต้านแรงฉีกขาด
UNE EN ISO 13937-3Warp 73.9 N
Weft 43.2 N
Tensile Strength (Strip Test)
ทดสอบแรงดึงขาด
UNE EN ISO 13934-1Warp 1647 N
Weft 750 N
Water Repellency
(Spray Test)
ความสะท้อนน้ำ 
UNE EN ISO 24920
5 (max 5)

30006 ALFRESCO & 30007 PLAYGROUND

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Acrylic Fiber Dyed
Weight น้ำหนัก190 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
DIN EN ISO 12947-225,000 cycles
Amines of Azo Colorants – ExtractionDIN EN 14362-1<5 mg/kg
(lagal limit 30 mg/kg)
Colour Fastness to Chlorinated Water ความคงทนของสีต่อน้ำคลอรีนDIN EN ISO 105-E034 (max 5)
Colour Fastness to Hot Pressing
ความคงทนของสีต่อ
การกดทับด้วยความร้อน
ISO 105-X11:19975 (max 5)
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
BS EN 105-B026-7 (max 8)
Depending colour
Colour Fastness to Perspiration
ความคงทนของสีต่อเหงื่อ
BS EN ISO 105-E04:2009PH 5.5 Acid: 4-5
PH 8 Alkaline: 4-5
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
ISO 105-X12:20035 (max 5)
Colour Fastness to Washing
ความคงทนของสีต่อการซัก
ISO 105-C06:20105 (max 5)
Colour Fastness to Sea Water
ความคงทนของสีต่อน้ำทะเล
DIN EN ISO 105-E025 (max 5)
 Dimensional Stability to Washing
 การเปลี่ยนแปลงขนาดหลังการซัก
ISO 5077:2007Warp -0.5%
Weft -2.0%
Flammability
ความสามารถในการติดไฟ
BS 5852-1
UNE1021-1
BS 7176 Low Hazard
PASS
Oil Repellency (Teflon®)
ความสะท้อนน้ำมัน
ISO 14419
AATCC 118:2007
6 (max 8)
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
ISO 12945-2:20014 (max 5)
 Seam Properties (Strength)
สมรรถนะของตะเข็บ
BS EN ISO 13935-2:1999Warp 56.8 kg STP
Weft 30.0 kg STP
Tensile Strength (Strip Test)
ทดสอบแรงดึงขาด
EN ISO 13934-1Warp 101 kg
Wefte 55 kg
 Ultra Violet Transmission/UPF
การป้องกันรังสียูวี
AS/NZS 4399/1996UV40 Standard 801
Water Repellency
(Spray Test-Teflon® )
ความสะท้อนน้ำ
ISO 4920
AATCC 22-2010
90

30035 CRUISES

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Olefin
Weight น้ำหนัก367 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
EN ISO 12947-2:199813,000 cycles
Anti-Bacterial
ต้านเชื้อแบคทีเรีย
JIS L 1902Reduction 99% Effective
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
BS EN 105-B02:19947-8 (max 8)
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
BS EN 105-X12:20014-5 (max 5)
Colour Fastness to UV
ความคงทนของสีต่อแสง UV
ASTM G1544-5 (max 5)
Flammability
ความสามารถในการติดไฟ
NFPA 260,
CAL 117
BS 5852 Source 0
EN ISO 1021-1
PASS
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
EN ISO 12945-2:20004 (max 5)
Seam Properties (Slippage)
สมรรถนะของตะเข็บ
EN ISO 13936-2:2004Weft 2.5 mm
Warp 3.0 mm
Water Repellency
(Spray Test)
ความสะท้อนน้ำ 
BS EN ISO 49204-5 (max 5)
Tearing Strength
ความต้านแรงฉีกขาด
BS EN ISO 13937-1:2000Warp 5901 g
Weft 6620 g

30070 ISTANBUL30071 GALATA, 30072 TOPKAPI, 30073 BOSPHORUS

DETAIL INFORMATIONSTANDARDTEST RESULTS
Composition ประกอบ100% Olefin
Weight น้ำหนัก198-343 g/sqm
Abrasion Resistance
ความต้านต่อการขัดถู
EN ISO 12947-2:199830070: 18,000 cycles
30071: 20,000 cycles
30072: 50,000 cycles
30073: 50,500 cycles
Anti-Bacterial
ต้านเชื้อแบคทีเรีย
JIS L 1902Reduction 99% Effective
Colour Fastness to Light
ความคงทนของสีต่อแสง
BS EN 105-B02:19947-8 (max 8)
Colour Fastness to Rubbing
ความคงทนของสีต่อการขัดถู
BS EN 105-X12:2001Dry 4-5 (max 5)
Wet 4-5 (max 5)
Colour Fastness to UV
ความคงทนของสีต่อแสง UV
ASTM G1544-5 (max 5)
Flammability
ความสามารถในการติดไฟ
NFPA 260,
CAL 117
BS 5852 Source 0
EN ISO 1021-1
PASS
Pilling Resistance (Martindale) 
ความต้านต่อการขึ้นขน/เม็ด
EN ISO 12945-2:20004 (max 5)
Seam Properties (Slippage)
สมรรถนะของตะเข็บ
EN ISO 13936-2:200430070:
Weft 2.7 mm, Warp 3.0 mm
30071:
Weft 4.8 mm, Warp 4.6 mm
30072:
Weft 4.8 mm, Warp 4.6 mm
30073:
Weft 3.0 mm, Warp 3.8 mm 
Water Repellency
(Spray Test)
ความสะท้อนน้ำ 
BS EN ISO 49204-5 (max 5)
Tearing Strength
ความต้านแรงฉีกขาด
BS EN ISO 13937-1:200030070:
Warp 5920 g, Weft 6664 g
30071:
Warp 5760 g, Weft 6550 g
30072:
Warp 5930 g, Weft 6750 g
30073:
Warp 5980 g, Weft 6720 g

ตัวอักษรย่อในส่วนประกอบเนื้อผ้า

บางทีเวลาเราเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ที่ย่อ ในส่วนของ Care Lable หรือป้ายสัญลักษณ์การดูแลรักษาผ้าที่ส่วนใหญ่มักจะบอกถึงส่วนประกอบของเส้นใยด้วยว่าผลิตจากเส้นใยชนิดใด ซึ่งในบางครั้งที่มีความจำกัดด้านเนื้อที่เลยจำเป็นต้องเขียนย่อ ซึ่งบางทีอาจทำให้เราไม่แน่ใจว่าตัวย่อที่เราเห็นนั้น เราเข้าใจถูกหรือไม่ วันนี้เราไปดูกันดีกว่าตัวย่อนั้นๆ หมายความว่าอะไรกันบ้าง

ในส่วนตัวย่อข้างบนนั้นเป็นการย่อในวงการผ้าเท่านั้น ซึ่งจะมีวัสดุกลุ่มเส้นใยโพลิเมอร์ หรือพลาสติกบางตัวที่อาจไม่ต้องกับการย่อสากลที่เราคุ้นเคยตามตัวอย่างด้านล่างนี้