fbpx

การคำนวน BTU เครื่องปรับอากาศ

ก่อนที่เราจะมาคำนวน BTU เรามารู้กันก่อนว่า BTU นั้นคืออะไร

BTU (British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในระบบของเครื่องทำความเย็น โดยที่ความร้อน 1 BTU คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ โดยจะวัดความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียู (BTU) เช่นแอร์ขนาด 18,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าแอร์เครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้อง 18,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมงนั้นเอง

*เกณฑ์การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ

    • A 750 บีทียู ต่อ ตารางเมตร เหมาะสมกับห้องนอน
    • B 1000 บีทียู ต่อ ตารางเมตร เหมาะสมกับห้องรับแขก สำนักงานและห้องที่มีผนังรับแสงแดด 2 ด้านขึ้นไป

สมมุติว่าคอนโดเราขนาด 31 ตารางเมตร ห้องทิศที่ไม่ค่อยโดนแดด ก็เอา 750×31= 23,250 แปลว่าเราต้องหาซื้อเครื่องปรับอากาศที่ขนาดใกล้เคียงกับ BTU จากระดับเป็นช่วงๆ นั้นคือ 24,000 BTU นั้นเอง

นอกเหนือไปจากการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมแล้ว การเลือกผ้าม่านประเภท DIM-OUT, BLACKOUT จากนิทัส เทสซิเล จะสามารถปกกันความร้อนจากแสงแดดเข้ามาในห้อง ช่วยลดอุณหภูมิห้องได้ถึง 1-2 องศา ซึ่งช่วยลดพลังงานจากเครื่องปรับอากาศ และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย

ย้อมก่อนทอ หรือทอก่อนย้อมดี?

การย้อมเส้นด้าย (Yarn Dyed) และการย้อมผืนผ้า (Piece Dyed) เป็นสองวิธีทั่วไปที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเพิ่มสีสันให้กับเนื้อผ้า ความแตกต่างคือ

  • การย้อมเส้นด้าย (Yarn Dyed): เป็นการย้อมในที่เป็นเส้นด้าย ก่อนที่จะทอ (Woven) หรือถัก (Knitted) เป็นผ้า การย้อมเส้นด้ายช่วยให้ได้ลวดลายและการออกแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำเส้นด้ายที่มีสีต่างกันมาทอหรือถักเข้าด้วยกันเพื่อสร้างลวดลายที่ต้องการได้ ผ้าที่ได้จะมีสีที่สดใส และติดทนนาน เนื่องจากสีย้อมจะแทรกซึมเข้าไปในเส้นด้ายทั้งหมด
  • การย้อมผืนผ้า (Piece Dyed): วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการย้อมผ้าทั้งผืนหลังจากที่ทอหรือถักแล้ว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายกว่าและคุ้มค่ากว่า แต่จะจำกัดประเภทของรูปแบบที่สามารถทำได้ ผ้าที่ได้อาจมีสีที่สดใสน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากสีย้อมไม่ได้ซึมผ่านเส้นใยได้ลึกเท่าการย้อมเส้นด้าย

โดยสรุป การย้อมเส้นด้ายเหมาะสำหรับการสร้างลวดลายและการออกแบบที่สลับซับซ้อน ในขณะที่การย้อมเป็นผืนจะคุ้มค่ากว่า และมีประสิทธิภาพสำหรับผ้าสีเรียบๆ

การปรากฏของสีและลวดลายบนบนผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าม่าน หรือผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่เราเห็นสวยงามนั้น แท้จริงแล้วมีการให้สีได้หลายแบบ ดังนี้

ย้อมสีก่อนการทอ (Yarn Dyed)

เป็นกระบวนการให้สี โดยการนำเส้นด้ายไปย้อมสีก่อนการทอขึ้นเป็นผืนผ้า

  • ข้อดีคือ สามารถเก็บชุดสีด้ายเตรียมไว้สำหรับการทอได้ก่อน เมื่อมีความต้องการ สามารถสั่งผลิต หรือขึ้นตัวอย่างผ้าได้ง่ายกว่า สามารถให้สีผ้าได้มากสูงสุดถึง 12 สีในการทอหนึ่งผืน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มักใช้ชนิดเส้นด้ายและสีที่ต่างกันประมาณ 3 แบบเท่านั้น และในขณะที่กำลังทอสามารถเห็นสีจริงในขณะที่ทอได้เลย นอกจากนั้นยังเก็บสต็อกชุดสีเส้นด้ายแค่ชุดเดียว แต่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทอ หรือลวดลายต่างกันได้หลายรูปแบบ
  • ข้อเสียคือ ต้องเก็บสต็อกชุดสีจำนวนมาก ในแต่ละชุดด้ายที่แตกต่างกัน

ทอก่อนย้อมสี (Piece Dyed)

เป็นกระบวนการให้สีหลังจากการทอผ้าเสร็จแล้ว จากนั้นจึงนำไปย้อมสี แต่ถ้าผ้าหนึ่งผืนมีความต้องการมากกว่าหนึ่งสีจะต้องทำอย่างไร คำตอบคือต้องใช้คุณสมบัติของเส้นด้ายที่กินสีแตกต่างกันนั้นเอง เช่น ต้องการผ้าที่มี 2 สีโดยเป็นผ้า Piece Dyed ในผืนผ้าต้องประกอบไปด้วยเส้นใย 2 ชนิด เช่น ฝ้าย และโพลีเอสเตอร์ ซึ่งสีที่สามารย้อมฝ้ายก็จะไม่ติดเส้นใยโพลีเอสเตอร์ และในทางกลับกันสีที่ย้อมโพลีเอสเตอร์ก็จะไม่ติดฝ้ายเช่นเดียวกัน ด้วยเทคนิคนี้จึงสามารถทำให้ผ้า สามารถมี 2 สีได้

  • ข้อดีคือ สามารถทอผ้าดิบเก็บไว้จำนวนครั้งละมากๆ แล้วจึงตัดส่วนไปย้อมได้ตามคำสั่งของลูกค้าที่มีความต้องการชุดสีที่แตกต่างกันไป
  • ข้อเสียคือ ไม่สามารถมองเห็นสีจริง ได้ในขณะทอ ต้องรอจนกว่าการย้อมจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งกระบวนการย้อมต้องมีความละเอียดเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้สีด่าง หรือสีช่วงต้นม้วนและปลายม้วนออกมาไม่เสมอกัน

ในขบวนการการย้อมสิ่งทอจริงๆ แล้วมีขั้นตอน ที่ก่อนและหลังจากบทความข้างต้น ดังนี้

  1. Fiber dyeing ย้อมเส้นใย
  2. Yarn dyeing การย้อมเส้นด้าย
  3. Fabric dyeing การย้อมผืนผ้า
  4. Garment dyeing การย้อมเสื้อผ้าสำเร็จ

นอกจาก 2 กระบวนการดังกล่าวแล้วยังมีการให้สีลงบนผืนผ้าโดยการพิมพ์อีกด้วย

การพิมพ์สีลงไปในผ้า หรือที่เรียกว่าผ้าพิมพ์ (Printed Fabric)

ซึ่งผ้าพิมพ์นี้เป็นผ้าที่เกิดการให้สีหลังจากการทอเหมือนข้อข้างต้นแต่จะไม่ได้นำผ้าทั้งผืนลงไปย้อมในหม้อย้อม แต่จะใช้กระบวนการพิมพ์ซึ่งมีหลากหลาย ดังนี้

  • การพิมพ์แบบดิจิตอล (Digital Print) เปรียบเทียบง่ายๆ คือการพิมพ์ผ้าแบบ Inkjet ตรงลงบนตัวผ้าเลย การพิมพ์แบบนี้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ได้สีสันมากตามต้องการในกระบวนการเดียว ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะต้นทุนในการพิมพ์ต่อหลายังสูงกว่าการพิมพ์ชนิดอื่น
  • การพิมพ์แบบฮีททรานเฟอร์ (Heat Transfer) หรือที่เรียกว่าการพิมพ์แบบรีดร้อน เป็นการพิมพ์แบบลงบนกระดาษก่อน แล้วจึงนำกระดาษนั้นประกบกับผ้าแล้วกดทับด้วยแรงกดและความร้อน ลายพิมพ์ดังกล่าวจะระเหิดมาติดลงบนผืนผ้าแทน การพิมพ์แบบนี้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ได้สีสันมากตามต้องการในกระบวนการเดียว เป็นการพิมพ์ที่นิยมมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน
  • การพิมพ์ฉลุลายผ้า (Silk Screen) หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน เป็นการทำแบบลงบนบล็อกผ้าไหม ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้ผ้าไหมจริงๆ เพราะเส้นไหมมีความละเอียด ทำให้ช่องว่างมีความถี่เหมาะกับการทำบล็อกสกรีน แต่ในปัจจุบันใช้เส้นใยสังเคราะห์แทน โดยใช้หลักการที่ว่า จะสร้างลวดลายในบล็อกสกรีนโดยให้ลวดลายที่ต้องการโปร่ง และให้ส่วนที่ไม่ต้องการเกิดลวดลายทึบ แล้วจึงนำไปทาบกับผืนผ้า จากนั้นจึงใช้ยางปาดสีให้ทะลุลงไปติดกับผ้าจนเกิดลวดลายขึ้นมา หนึ่งบล็อกต่อการพิมพ์ 1 สี ในอุตสาหกรรมใหญ่ที่พิมพ์ผ้าแบบนี้อยู่ ได้แก่ ผ้าโขมพัสตร์ เป็นต้น
  • การพิมพ์แบบโรตารี่ (Rotary Printing) เป็นการพิมพ์โดยแบบลวดลายจะปรากฏอยู่ที่ลูกกลิ้งทรงกระบอกยาวเท่ากับหน้าผ้าที่จะพิมพ์ แล้วลูกกลิ้งจะหมุนตัวไปรับหมึกสีที่จะพิมพ์ แต่ละสี ต่อหนึ่งลูกกลิ้ง กดและถ่ายทอดสีลงบนผืนผ้า การพิมพ์แบบนี้เป็นการพิมพ์ที่นิยมมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน

ไม่ว่าผ้านั้นๆ จะสร้างลวดลายด้วยกรรมวิธีใดๆ ก็ตาม ประเด็นความสำคัญคือความพึงพอใจของคุณที่มีต่อผ้าตัวนั้นๆ เป็นหลักนะจ๊ะ


เฟอร์นิเจอร์ตัวนี้ ใช้ผ้าเท่าไร ?

อยากเปลี่ยนผ้าโซฟาตัวโปรด ว่าแต่ เฟอร์ตัวนี้มันใช้กี่หลากันนะ?

ก่อนที่เราจะรู้ว่าเฟอร์นิเจอร์ตัวโปรดนั้น ใช้ผ้าในการเปลี่ยนเท่าไร เรามาดูวิธีวัดกันก่อน

    • A B ความกว้าง-ยาว ของพนักผิงด้านใน
    • C D ความกว้าง-ยาว ของพนักผิงด้านนอก
    • E F ความกว้าง-ยาว ของพนักวางแขนด้านใน
    • H G ความกว้าง-ยาว ของพนักวางด้านนอก
    • I J ความกว้าง-ยาว ของเบาะรองนั้ง
    • K L ความกว้าง-ยาว ของขอบหน้า

ตัวอย่าง จำนวนการใช้ผ้าของ เฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้นั้งรับประทานอาหาร, อาร์มแชร์, วิงค์แชร์, โซฟา 1-3 ที่นั่ง จะสังเกตุได้ว่า รูปแบบของการบุเฟอร์นิเจอร์ที่ต่างกันมีผลต่อจำนวนผ้า เช่น การบุแบบดึงดุมจะใช้ผ้าเปลืองกว่าการบุธรรมดาพอสมควร

 

PVC vs PU ต่างกันอย่างกันอย่างไร ?

Synthetic Leather

Synthetic Leather วัสดุสังเคราะห์ทดแทนหนัง หรือที่เรียกติดปากว่า “หนังเทียม” นอกจากหนังแท้  (Natural Leather) คือ หนังสัตว์ เช่น หนังจิงโจ้, หนังวัว, หนังจระเข้ ฯลฯ หนังสังเคราะห์ คือวัสดุที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นมาด้วยกระบวนการทางเคมี หรือเรียกว่า โพลิเมอร์ (Polymer) ซึ่งคือการนำเอาพลาสติกที่มีผลิตขึ้นมาจากสารประกอบที่มีอยู่ในธรรมชาติมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์ที่เรียกว่า โพลิเมอร์ไรเซชั่น (Polymerization) ทำให้ได้พลาสติกตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป จนเกิดเป็นพลาสติกที่มีเยอะแยะมาก เช่น PU (Poly Uretane), PVC (Polyvinylchloride), Microfiber (พลาสติกเส้นเล็กที่มีขนาดเส้นเล็กๆ เรียงตัวกัน) นอกจากนั้นยังมีหนังผสม (Composite Leather) ซึ่งเกิดจากชั้นล่างเป็นวัสดุจากผ้าสิ่งทอและเททับด้วยโพลิเมอร์ที่มีส่วนผสมหลายอย่างกดทับเป็นลายหนัง

ในวงการผ้าเพื่อการตกแต่งที่อยู่อาศัย หรือเรียกง่ายๆ ว่า ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ก็มักนิยมใช้มาก คือ

  1. PU (Poly Urethane)
    • ข้อดีคือ ให้ความรู้สึกเหมือนหนังแท้ทั้งการสัมผัส และการมองเห็น ความนุ่มเหมือนหนังแท้ ทำความสะอาดง่าย กันน้ำด้วยตัววัสดุเองอยู่แล้ว
    • ข้อเสียคือ อายุการใช้งานสั้นกว่า PVC โดยอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 3-5 ปี แล้วแต่คุณภาพของสินค้า และสภาพสิ่งแวดล้อมด้วย เมื่อเสื่อมสภาพจะเกิดการหลุดร่อนออกจากชั้นผ้าด้านหลัง สังเกตเห็นเป็น การบวมนูนออกมาเป็นผิว PU บางๆ คล้ายกับการติดสติกเกอร์แล้วไม่เรียบเนียน ทำให้เกิดฟองอากาศ
  2. PVC (Polyvinylchloride)
    • ข้อดีคือ ให้ความรู้สึกเหมือนหนังแท้ทั้งการสัมผัส และการมองเห็น แต่อายุการใช้งานที่คงทนกว่า PU โดยอายุการใช้งานเฉลี่ยคือ 3-7 ปี แล้วแต่คุณภาพของสินค้า และสภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังทำความสะอาดง่าย กันน้ำด้วยตัววัสดุเองอยู่แล้ว
    • ข้อเสียคือ จะมีผิวสัมผัสที่แข็งกว่า PU เล็กน้อย เมื่อเสื่อมสภาพจะเกิดการแข็งและแตกระแหง เหมือนดินแห้งแตก หลุดแตกออกมาเป็นชิ้นๆ
  3. Microfiber
    • ข้อดีคือ ให้ความรู้สึกเหมือนหนังแท้ แต่ผิวสัมผัสนุ่มสบายเหมือนผ้า ถ่ายเทอากาศดีกว่าทั้งสองตัวที่กล่าวมา เนื่องจากมีความเป็นเนื้อผ้าที่สร้างลายเหมือนหนัง สามารถตกแต่งพิเศษเพื่อการสะท้อนน้ำได้ และสามารถถอดไปซักทำความสะอาดได้ ในกรณีที่เป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อถอดซักได้
    • ข้อเสียคือ เนื่องด้วยวัสดุมันก็ยังเป็นผ้า เพราะฉะนั้นยังสามารถเปื้อนง่ายกว่าตัว PU, PVC แต่การเสื่อมสภาพของผ้า จะน้อยกว่า นอกจากจะเกิดการขาดของผ้าจากแรงกระทำ จากการใช้งานเป็นเวลานานๆ

“Thank you for choosing to use synthetic leather. Your decision helps reduce animal cruelty and supports sustainable” Moo-moo

สามารถดูตัวอย่างสินค้าได้ที่

HOSPITAL CURTAIN TRIM จำเป็นอย่างไร ?

ม่านโปร่งตาข่ายต่อผ้า สำหรับผ้าม่านโรงพยาบาล

ผ้าม่านสำหรับโรงพยาบาล (Cubicle Curtain or Hospital Curtain) เป็นม่านที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น เวลาฉีดยา หรือการรักษาอาการที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แต่ยังคงต้องการการถ่ายเทอากาศที่ดี ม่านโรงพยาบาลส่วนใหญ่มี 2 แบบคือ

  1. แบบม่านที่ลดระดับความสูงจากระดับฝ้าลงมาเป็นช่องถ่ายเทอากาศ โดยใช้รางม่านห้อยต่ำลงมา ข้อดีของม่านขนิดนี้คือ สามารถใช้ผ้าม่านปกติเพื่อการปิดบังสายตาได้เลย ข้อเสียคือ ต้องมีการติดตั้งร่างม่านแบบพิเศษที่ห้อยลงมาจากระดับฝ้าให้เป็นช่องถ่ายเทอากาศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่แพงขี้น ความแข็งแรงคงทน และความสวยงามน้อยกว่าแบบที่สอง
  2. แบบม่านที่ติดระดับฝ้าปกติ แต่มีการตัดต่อผ้าตาข่าย เพื่อช่วยระบายอากาศ ข้อดีคือสามารถติดตั้งรางม่านแบบปกติ ที่มีความแข็งแรงคงทน และความสวยงามมากกว่า ไม่มีเส้นรางรกสายตา แต่ต้องใช้การต่อม่านตาข่ายหรือม่านโปร่งด้านบนเพื่อการระบายอากาศแทน

และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัย ผ้าโรงพยาบาลควรมีคุณสมบัติกันไฟด้วย

สามารถดูสินค้าของเราได้ที่ : http://www.nitas-tessile.com/product/90019-brickwork/

HOME CAFE Collection

EDWARDS Collection


เล่มตัวอย่างผ้า สำหรับลูกค้าตัวแทนจำหน่าย ที่ต้องการมีไว้เพื่อการนำเสนอลูกค้า
ติดต่อรับได้ที่ ฝ่ายขายประจำพื้นที่ หรือทาง Line
แจ้งขอรับได้ตั้งแต่ วันนี้ – จนกว่าเล่มตัวอย่างจะหมด

*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาเช็คราคาอัพเดท ก่อนสั่งทุกครั้ง

SOMETHING FRESH Collection

เล่มตัวอย่างผ้า สำหรับลูกค้าตัวแทนจำหน่าย ที่ต้องการมีไว้เพื่อการนำเสนอลูกค้า
ติดต่อรับได้ที่ ฝ่ายขายประจำพื้นที่ หรือทาง Line
แจ้งขอรับได้ตั้งแต่ วันนี้ – จนกว่าเล่มตัวอย่างจะหมด

*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาเช็คราคาอัพเดท ก่อนสั่งทุกครั้ง

ALEPPO Collection

เล่มตัวอย่างผ้า สำหรับลูกค้าตัวแทนจำหน่าย ที่ต้องการมีไว้เพื่อการนำเสนอลูกค้า
ติดต่อรับได้ที่ ฝ่ายขายประจำพื้นที่ หรือทาง Line
แจ้งขอรับได้ตั้งแต่ วันนี้ – จนกว่าเล่มตัวอย่างจะหมด

*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาเช็คราคาอัพเดท ก่อนสั่งทุกครั้ง

MULBERRY Collection


เล่มที่รวบผ้าที่มีลักษณะเหมือนผ้าไหม ที่ดีที่สุดของเรา