SOMFY RBS
มอเตอร์ม่านม้วนตัวมาตรฐานของ Somfy
ระบบการทำงานเงียบ เสียงมอเตอร์ทำงาน เบาเพียง 47 dBA
ระดับการป้องกัน IP 44
รับประกันมอเตอร์นานสูงสุดถึง 5 ปี
SOMFY RBS
มอเตอร์ม่านม้วนตัวมาตรฐานของ Somfy
ระบบการทำงานเงียบ เสียงมอเตอร์ทำงาน เบาเพียง 47 dBA
ระดับการป้องกัน IP 44
รับประกันมอเตอร์นานสูงสุดถึง 5 ปี
EPU (Environmental Polyurethane) คือวัสดุหนังเทียมยุคใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้งานอย่างยั่งยืน ทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อมและการใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยมีคุณสมบัติเด่นทั้งในด้านความทนทาน ความสวยงาม และการดูแลรักษาที่แสนง่าย
EPU ผลิตจากโพลียูรีเทนที่มีสูตรลดการใช้สารเคมีอันตราย และลดการปล่อยสารระเหย (VOC) จึงปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพและการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน
หนังเทียมชนิดนี้มีการเคลือบสารพิเศษ Easy Clean ช่วยให้พื้นผิวป้องกันคราบเปื้อนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นคราบอาหาร คราบน้ำ หรือแม้แต่คราบหมึกจากปากกาลูกลื่นหรือปากกาเคมีแบบถาวร (permanent marker) ก็สามารถเช็ดออกได้ หากทำความสะอาดทันทีหลังเปื้อน
การที่คราบสกปรกไม่ฝังลึกลงในเนื้อวัสดุช่วยลดการเสื่อมสภาพของหนังเทียม ทำให้วัสดุมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ไม่หมองเร็ว ไม่ลอกง่าย จึงสามารถคงรูปลักษณ์ที่สวยงามได้ยาวนาน เหมาะกับงานตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน หรือแม้แต่สินค้าสำหรับเด็ก
กรณีเปื้อนหมึกใหม่ๆ
กรณีคราบฝังแน่น
ข้อควรระวัง
EPU จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการวัสดุตกแต่งที่ทั้งสวย ใช้งานง่าย และมีจิตสำนึกรักษ์โลก ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในบ้าน โรงเรียน โรงแรม หรือออฟฟิศ ก็สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งในด้านฟังก์ชันและความสวบงาม
ภาพนี้แสดงโครงสร้างของวัสดุหนังเทียมแบบหลายชั้น (Multilayer synthetic Leather) ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตโดยมีผ้าโพลีเอสเตอร์เป็นฐาน และเสริมชั้นต่าง ๆ เพื่อให้ได้สัมผัสและประสิทธิภาพใกล้เคียงหนังแท้ ดังนี้:
มีหน้าตาและผิวสัมผัสใกล้เคียงหนังแท้ แข็งแรงทนทาน จากโครงสร้างผ้าโพลีเอสเตอร์ และดูแลรักษาง่าย ด้วยสาร Easy Clean Coating ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ EPU นวัตกรรมใหม่ของทางนิทัส เพื่อให้คุณมีโซฟาหนังตัวโปรดได้โดยไม่เบียดเบียนสัตว์อีกด้วย
ทำไมต้องเลือกใช้ผ้าสำหรับทำผ้าม่านโดยเฉพาะ? ผ้าทั่วไปใช้แทนกันไม่ได้เหรอ?
ในสายตาของคนทั่วไป ผ้าก็คือผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าสำหรับตัดเย็บเสื้อผ้าหรือผ้าสำหรับทำม่าน แต่ในความเป็นจริง ผ้าสำหรับทำม่านและผ้าตัดเสื้อผ้ามีความแตกต่างกันในหลายมิติ ทั้งเรื่องคุณสมบัติทางเทคนิค ลักษณะโครงสร้างของเนื้อผ้า รวมถึงจุดประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งเราจะอธิบายโดยละเอียดในบทความนี้ เพื่อให้คุณเข้าใจว่าเหตุใดจึงไม่ควรใช้ผ้าตัดเสื้อทั่วไปมาทำม่าน หรือในทางกลับกัน
น้ำหนักของผ้า gsm = grams per square meter อ่านบทความเรื่องนี้
ประเภทผ้า | น้ำหนักเฉลี่ย (gsm) | คำอธิบาย |
---|---|---|
ผ้าม่านโปร่ง Sheer | 50–90 gsm | เบามาก โปร่งแสง เน้นการกรองแสงและพรางสายตา |
ผ้าม่านทึบ (ทั่วไป) Curtain | 150–300 gsm | หนากว่าผ้าเสื้อผ้า เพื่อกันแสงและเพิ่มความเป็นส่วนตัว |
ผ้าม่านกันแสง Dim-out Curtain | 250-350 gsm | หนากว่าผ้าม่านปกติ มีการทอสอดเส้นได้สีดำเพื่อเพิ่มความสามารถในการกันแสง |
ผ้าม่านทึบแสง Blackout Curtain | 300–450 gsm | หนาและหนักกว่าผ้าม่านปกติ มีชั้นเคลือบหรือซ้อนหลายชั้นเพื่อกันแสง 100% |
ผ้าเสื้อ (ทั่วไป) Clothing | 100–200 gsm | น้ำหนักขึ้นอยู่กับชนิดผ้า (เช่น คอตตอน, โพลีเอสเตอร์, ลินินฯลฯ) |
ผ้าสำหรับทำม่านมักจะมีความหนาและหน้าผ้ากว้าง ตั้งแต่ 135 – 320 ซม. ซึ่งช่วยลดรอยต่อระหว่างผืนเมื่อเย็บม่าน ทำให้ม่านดูเรียบ สวย และประหยัดแรงในการตัดเย็บ ในขณะที่ผ้าตัดเสื้อส่วนใหญ่มักมีหน้ากว้างแค่ 100-150 ซม. และความหนาก็ไม่มากพอที่จะบังแสงหรือให้ความเป็นส่วนตัว
ยกตัวอย่าง ผ้า Dimout: สามารถกันแสงได้ประมาณ 80-90% เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการแสงลดน้อยลง แต่ไม่ต้องมืดสนิท เช่น ห้องนั่งเล่นหรือห้องทำงาน รวมไปถึงผ้า Blackout: กันแสงได้เกือบ 100% เหมาะสำหรับห้องนอนหรือห้องโฮมเธียเตอร์ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีในผ้าตัดเสื้อทั่วไป
หัวข้อ | ผ้าม่าน | เสื้อผ้าทั่วไป |
---|---|---|
วัตถุประสงค์หลัก | ตกแต่ง, กรองแสง, เพิ่มความเป็นส่วนตัว, ควบคุมอุณหภูมิห้อง | สวมใส่เพื่อความสบาย, ความงาม, การปกป้องร่างกาย |
กันแสง / กรองแสง Light blocking / Light filtering | มีทั้งแบบทึบแสงและโปร่งแสง เพื่อกรองแสงหรือกันแสง UV | บางชนิดมีการพัฒนาให้กัน UV เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด |
กันความร้อน Thermal insulation | ผ้าม่านช่วยลดความร้อนจากแสงแดด | บางชนิดช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อให้ “ใส่แล้วเย็นสบาย” |
กันเสียง Sound absorption / Acoustic insulation | ผ้าหนาอาจช่วยดูดซับเสียงได้เล็กน้อย | – |
ความปลอดภัย (กันไฟลาม) Flame retardant | บางชนิดเคลือบสารกันไฟลาม ใช้ในอาคารสูงหรือสาธารณะ | – |
การระบายอากาศ Breathability | ม่านโปร่งเพื่อให้แสงและอากาศถ่ายเท | เป็นจุดเด่นสำคัญ เช่น ผ้าตาข่าย ผ้าทอโปร่ง เพื่อระบายอากาศเวลาสวมใส่ |
การแห้งเร็ว / ซับเหงื่อ Moisture-wicking / Quick-drying | – | ผ้าสมัยใหม่พัฒนาให้แห้งเร็ว ซึมซับเหงื่อได้ดี เช่น ผ้า activewear |
กันยับ Wrinkle-resistant | – | ผ้าหลายแบบกันยับ Wrinkle-free หรือไม่ต้องรีด เช่น ผ้า polyester, spandex |
ให้ความอบอุ่น / เย็นสบาย Thermal comfort / Cooling effect | ช่วยลดอุณหภูมิในห้องจากแสงแดด | เสื้อผ้าพัฒนาให้เหมาะกับฤดูกาล เช่น ผ้าใยธรรมชาติในหน้าร้อน หรือผ้าหน้าในฤดูหนาว |
ความงาม / ลวดลาย Aesthetic / Pattern design | ลวดลายเพื่อเสริมบรรยากาศห้อง สื่อรสนิยมของเจ้าของบ้าน | ลวดลาย สี และดีไซน์เพื่อแสดงบุคลิก ความชอบ และแฟชั่น |
ตอบ: ทำได้ แต่อาจต้องยอมรับว่า:
ตอบ: โดยทั่วไป “ไม่เหมาะสม” เพราะผ้าม่านมีความแข็ง หนา หนัก ระบายอากาศได้น้อย ใส่ไม่สบาย และอาจระคายเคืองผิว โดยเฉพาะผ้า Blackout ที่มีชั้นเคลือบอยู่ด้านหลัง
จากที่กล่าวมาแม้ผ้าจะดูเหมือนกัน แต่เบื้องหลังการออกแบบและวัตถุประสงค์การใช้งานนั้นต่างกันอย่างมาก การเลือกใช้ผ้าสำหรับทำม่านโดยเฉพาะจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ทั้งในด้านความสวยงาม ฟังก์ชัน และอายุการใช้งาน
หากต้องการผ้าม่านที่ดูดี มีคุณภาพ และใช้งานได้ยาวนาน ควรเลือกใช้แบรนด์ผ้าม่านมีที่คุณภาพอย่าง NITAS TESSILE ที่เราได้คัดสรร นำเข้ามาจากทั่วโลก เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสได้ใช้ผ้าม่านที่จะทำให้บ้านของคุณดูสมบูรณ์แบบในทุกมิติ
ในการติดตั้งระบบม่านมอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น รางม่านไฟฟ้า (Motorized Curtain Track) หรือ ม่านม้วนไฟฟ้า (Motorized Roller Blind) สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเตรียมระบบไฟฟ้าไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะการเดินสายไฟใต้ฝ้าเพดาน เพื่อให้สามารถจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
สำหรับรางม่านไฟฟ้า (Motorized Curtain Track) มีทั้งแบบเดินสายไฟใต้ฝ้าเพดาน WT (Wired Technology) ระบบเดินสายไฟ เพื่อให้สามารถจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ และแบบ WireFree Somfy เทคโนโลยีมอเตอร์ไร้สาย ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
สำหรับม่านม้วนไฟฟ้า (Motorized Roller Blind) ต้องมีการเดินสายไฟใต้ฝ้าเพดาน เพื่อให้สามารถจ่ายไฟให้กับมอเตอร์
ย้ำว่านับเป็น ตารางมิลลิเมตรนะ ไม่ได้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าตัดเส้นทองแดง ฉนั้นมันก็จะวัดยากๆ หน่อย แบบส่วนใหญ่แบบสายที่เป็นแกนเดียวเลยจะมีขนาดเล็กกว่าแบบเกลียวนิดนึงด้วย
สายไฟในท้องตลาดมีหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะเหมาะกับการใช้งานต่างกัน ข้างล่างนี้คือสายไฟที่มักถูกพูดถึงในการติดตั้งระบบภายในอาคาร พร้อมคำอธิบายย่อและคุณสมบัติ
ชนิดสาย | ย่อมาจาก | คุณสมบัติ | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
NYY | NYLON sheathed with PVC Insulated Wire | สายกลม แข็งแรง มีชั้นฉนวนหนา ทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งและใต้ดิน | เดินสายไฟฟ้าทั่วไปในอาคาร โรงงาน, เดินฝังดิน (ควรร้อยท่อ) |
NYY-G | NYLON sheathed with PVC Insulated Wire with Ground | เหมือน NYY แต่มีสายกราวด์ (Ground) เพิ่มมา | งานที่ต้องการสายกราวด์เพิ่มความปลอดภัย เช่น ระบบไฟฟ้ากำลัง |
ชนิดสาย | ย่อมาจาก | คุณสมบัติ | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
VAF | Vinyl Insulated Flat Cord | สายแบน หุ้มฉนวนพีวีซี 2 ชั้น มีสายทองแดงเส้นเดียว | งานเดินสายในอาคารใต้ฝ้าเพดาน หรือร้อยท่อในอาคาร |
VAF-G | Vinyl Insulated Flat Cord with Ground Wire | แบบเดียวกับ VAF แต่มีสายดินเพิ่ม | ใช้ในอุปกรณ์ที่ต้องการสายดิน เช่น มอเตอร์ |
ชนิดสาย | ย่อมาจาก | คุณสมบัติ | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
VFF | Vinyl Insulated Flexible Cord | สายแบนเส้นคู่ แบบอ่อน | เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั่วไป เช่น โคมไฟ, พัดลม, หม้อหุงข้าว |
ชนิดสาย | ย่อมาจาก | คุณสมบัติ | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
VCT | Vinyl Insulated Circular Twin Cord | สายกลม มี 2-3 แกน แบบอ่อน | เครื่องจักร, อุตสาหกรรม ใช้ภายในและภายนอก |
VCT-G | Vinyl Insulated Circular Twin Cord with Ground Wire | แบบเดียวกับ VCT แต่มีสายดินเพิ่ม | เครื่องจักรที่ต้องการสายดิน, งานไฟฟ้าอุตสาหกรรม |
ชนิดสาย | ย่อมาจาก | คุณสมบัติ | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
VSF | Vinyl Insulated Single Flexible Cord | เส้นเดียว แบบอ่อน | งานต่อวงจรเล็ก, ใช้ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก |
ชนิดสาย | ย่อมาจาก | คุณสมบัติ | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
THW | Thermoplastic Heat and Water-resistant Wire | สายเดี่ยว หุ้ม PVC ทนความร้อนและความชื้น | ใช้เดินสายภายในผนังหรือท่อร้อยสาย ทนความชื้นสูง |
สำหรับงานติดตั้งม่านมอเตอร์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง แนะนำสายไฟดังนี้:
หลีกเลี่ยงการใช้สาย VFF หรือ VSF สำหรับโหลดมอเตอร์ถาวร เพราะเป็นสายอ่อนที่ไม่รองรับกำลังไฟฟ้าสูงและไม่ทนความร้อนเท่าสายที่ออกแบบมาสำหรับงานติดตั้งถาวร
ของประเทศไทย มีข้อกำหนดเรื่อง “สีของเปลือกฉนวน” เอาไว้ชัดเจน เพื่อให้สามารถแยกหน้าที่ของสายได้สะดวกและปลอดภัย
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รางม่านมอเตอร์ SOMFY กับความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตในบ้าน
SOFA SO GOOD: Upholstery Collection
เล่มที่รวบรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่มากที่สุด และดีที่สุดแห่งปี
Enjoy it ^ ^
เลือกผ้าม่านให้เหมาะสม: เปรียบเทียบระดับการกันแสงของผ้าแต่ละประเภท
การเลือกผ้าม่านให้เหมาะสมกับการใช้งาน ควรพิจารณาความสามารถในการกันแสง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่:
การเลือกผ้าม่านที่เหมาะสมช่วยให้สามารถควบคุมแสงในห้องได้ดีขึ้น ทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายและบรรยากาศที่ต้องการให้กับพื้นที่ และทิศทางของบ้านของคุณ
Polyester ในเสื้อผ้ากับ Polyethylene Terephthalate (PET) ในขวดพลาสติกคือพลาสติกชนิดเดียวกันหรือไม่?
Polyester และ Polyethylene Terephthalate (PET) เป็นวัสดุที่มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกันในระดับโมเลกุล เนื่องจากทั้งสองเป็นพอลิเมอร์ประเภทเดียวกัน แต่มีการใช้งานและกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันตามลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์ปลายทาง
Polyethylene Terephthalate (PET) และ Polyester เป็นพอลิเมอร์ชนิดเดียวกันที่มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกัน แต่ใช้ในทางที่ต่างกัน:
แม้ว่าทั้ง PET และ Polyester จะเป็นพอลิเมอร์ชนิดเดียวกัน แต่กระบวนการผลิตและลักษณะของผลิตภัณฑ์ปลายทางมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
Polyethylene Terephthalate (PET) ถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการ พอลิเมอไรเซชัน (Polymerization) โดยการผสม ส่วนผสมอื่นๆ พร้อมด้วย ภายใต้ความร้อนและความดันสูง ผลลัพธ์ที่ได้คือของเหลวที่มีลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง ซึ่งจะถูกรีดออก (Extruded) ทำให้แห้ง และตัดเป็น เม็ดพลาสติก (Plastic Pellets)
เม็ดพลาสติก PET เหล่านี้จะถูกนำไปขึ้นรูปเป็นขวดพลาสติกผ่านกระบวนการ ฉีดขึ้นรูป (Injection) ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกใส แข็งแรง และมีเกลียวฝาขวดที่ขึ้นรูปมาเรียบร้อยแล้ว เรียกว่า พรีฟอร์ม (PET Preform) ก่อนจะถูกนำไปผ่านกระบวนการ เป่าขึ้นรูป (Blow Molding) เพื่อขยายให้เป็นขวดพลาสติกขนาดเต็มรูปแบบได้รูปทรงที่แข็งแรง ทนทาน และเหมาะสำหรับการบรรจุของเหลว
Polyester เปรียบเสมือน “ผลไม้” ซึ่งเป็นหมวดหมู่ของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ ในขณะที่ PET คือ “แอปเปิล” ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของ Polyester ที่มีโครงสร้างเฉพาะเจาะจง PET นิยมใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น ขวดน้ำพลาสติก ภาชนะบรรจุอาหาร และฟิล์มพลาสติก
Polyester ในความหมายกว้าง ๆ หมายถึงกลุ่มของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ และอาจรวมถึงพอลิเมอร์ชนิดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียก PET ว่า Polyester อาจทำให้เกิดความสับสนกับ Polyester ชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน
ในกลุ่ม Polyester นอกจาก PET (Polyethylene Terephthalate) ยังมีพอลิเมอร์ชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น:
ด้วยความที่ PET และ Polyester มีโครงสร้างทางเคมีที่เหมือนกัน PET จากขวดพลาสติกสามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย Polyester สำหรับใช้ในการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอได้ โดยกระบวนการนี้ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกและช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ขวด PET ที่นำมารีไซเคิลต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดและแปรรูปก่อนเพื่อให้เหมาะสมกับการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ในทั้งสองกระบวนการนี้ อาจมีการเติมสารปรับปรุงคุณสมบัติ เช่น การเสริมเส้นใยหรือเพิ่มความทนทาน แต่การรีไซเคิล PET เพื่อผลิตเส้นใย Polyester ใหม่ไม่สามารถทำได้ 100% ด้วย PET รีไซเคิลเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเส้นใยที่ผลิตจาก PET รีไซเคิลอาจมีคุณสมบัติที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับการใช้ PET ใหม่ ดังนั้น กระบวนการรีไซเคิลมักจะต้องผสมกับ เม็ดพลาสติกใหม่ หรือ PET ใหม่ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติและความทนทานให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้ โดยทั่วไปจะใช้ PET รีไซเคิลประมาณ 30-50% ผสมกับวัสดุใหม่เพื่อให้ได้เส้นใยที่มีคุณภาพสูงและเหมาะสมกับการใช้งานต่าง ๆ และเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.
แม้จะเป็นพอลิเมอร์ชนิดเดียวกัน แต่ PET และ Polyester ใช้ในทางที่แตกต่างกันตามกระบวนการผลิตและการใช้งาน แต่ PET สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใย Polyester ได้ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในการเลือกใช้ผ้าสำหรับงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า งานตกแต่งบ้าน หรือการผลิตเฟอร์นิเจอร์ คำศัพท์เกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะของผ้ามีความสำคัญอย่างมาก การเข้าใจคำศัพท์เหล่านี้จะช่วยให้สามารถเลือกใช้ผ้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน บทความนี้จะอธิบายคำศัพท์สำคัญเกี่ยวกับผ้า ได้แก่ หน้าผ้า, หลังผ้า, ริมผ้า, หน้ากว้าง, น้ำหนัก, และส่วนประกอบของผ้า
หน้าผ้าหมายถึงด้านของผ้าที่ถูกออกแบบมาให้เป็นด้านหลักสำหรับใช้งาน เช่น ด้านที่มีลวดลายชัดเจน สีสันสดใส หรือมีพื้นผิวที่สวยงาม หากเป็นผ้าทอ มักเป็นด้านที่มีการจัดเรียงเส้นด้ายให้มีความละเอียดสวยงาม หากเป็นผ้าพิมพ์ลาย หน้าผ้าจะเป็นด้านที่ลายพิมพ์คมชัดกว่าหลังผ้า การเลือกใช้หน้าผ้าให้ถูกต้องมีผลต่อรูปลักษณ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
หลังผ้าหมายถึงด้านที่ไม่ใช่ด้านหลักของผ้า มักจะมีลักษณะที่ไม่สวยงามเท่าหน้าผ้า อาจเป็นด้านที่มีเส้นด้ายยุ่งเหยิง สีไม่ชัด หรือมีลวดลายที่จางกว่าหน้าผ้า สำหรับผ้าทอบางประเภท หลังผ้าอาจมีผิวสัมผัสที่แตกต่างจากหน้าผ้าอย่างเห็นได้ชัด เช่น ผ้ากำมะหยี่ที่ด้านหนึ่งจะมีขนละเอียด ส่วนอีกด้านจะเป็นผิวเรียบ
ริมผ้าคือขอบของผ้าที่เกิดจากกระบวนการทอหรือถักทอเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นด้ายลุ่ยออกมา ริมผ้ามักอยู่ที่ขอบด้านยาวของผ้า และอาจมีสีหรือเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากส่วนกลางของผ้า สำหรับผ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าและเครื่องตกแต่งบ้าน ริมผ้ามักจะถูกตัดออกก่อนนำไปใช้งาน เนื่องจากอาจมีเนื้อผ้าที่หนากว่าหรือมีรอยพิมพ์ข้อมูลของโรงงานผลิต
หน้ากว้างของผ้าหมายถึงความกว้างของผ้าจากริมหนึ่งไปถึงอีกริมหนึ่ง โดยทั่วไป หน้ากว้างของผ้าจะอยู่ระหว่าง 40 นิ้ว (ประมาณ 100 ซม.) และ 60 นิ้ว (ประมาณ 152 ซม.) แต่ในบางประเภทของผ้า เช่น ผ้าสำหรับทำม่านหรือผ้าหุ้มเบาะ อาจมีหน้ากว้างมากกว่านั้น การทราบหน้ากว้างของผ้ามีความสำคัญต่อการคำนวณปริมาณผ้าที่ต้องใช้ในงานตัดเย็บหรือออกแบบผลิตภัณฑ์
น้ำหนักของผ้าเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความหนาหรือความแน่นของเส้นด้ายที่ใช้ทอ โดยทั่วไปจะวัดเป็น กรัมต่อตารางเมตร (GSM – Grams per Square Meter) น้ำหนักของผ้าส่งผลต่อความหนาและการใช้งาน เช่น
ส่วนประกอบของผ้าหมายถึงเส้นใยที่ใช้ในการผลิตผ้า ซึ่งมีผลต่อคุณสมบัติของผ้า เช่น ความนุ่ม ยืดหยุ่น ระบายอากาศ และความทนทาน ตัวอย่างของเส้นใยที่ใช้ทำผ้ามีดังนี้:
ความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์พื้นฐานของผ้า เช่น หน้าผ้า, หลังผ้า, ริมผ้า, หน้ากว้าง, น้ำหนัก และส่วนประกอบของผ้า จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกผ้าได้อย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า การตกแต่งภายใน หรือการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การเลือกผ้าให้ถูกต้องนอกจากจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงามแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของผ้านั้น ๆ อีกด้วย
ในการเลือกใช้วัสดุทั้ง ผ้าและกระดาษ หลายคนอาจสังเกตเห็นว่ามีการใช้หน่วย GSM (Grams per Square Meter – กรัมต่อตารางเมตร) ในการบอกน้ำหนักของวัสดุ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว GSM ของผ้า และ แกรมของกระดาษ มีความหมายและผลต่อการใช้งานที่แตกต่างกัน แม้จะใช้หน่วยเดียวกัน
GSM (Grams per Square Meter) เป็นหน่วยวัด น้ำหนักของผ้าในหน่วยกรัมต่อตารางเมตร (g/m²) หรือพูดง่ายๆ ว่า บอกถึงความหนาแน่นของเส้นใยที่ใช้ทอผ้า
ประเภทผ้า | ค่า GSM (g/m²) | ลักษณะและการใช้งาน |
---|---|---|
ผ้าม่านโปร่ง (Sheer Fabric) | 80 – 150 GSM | เนื้อบางเบา ให้แสงผ่านได้ ดูโปร่งโล่ง |
ผ้าม่านทึบแสง (Dimout Fabric) | 200 – 350 GSM | กรองแสงได้บางส่วน เหมาะกับห้องนั่งเล่น |
ผ้าม่านกันแสง (Blackout Fabric) | 350 – 500 GSM | ป้องกันแสงแดด 90-100% เหมาะกับห้องนอน |
ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ (Upholstery Fabric) | 300 – 600 GSM | หนา ทนทาน กันการขีดข่วนและแรงดึง |
ค่า GSM มีผลต่อความหนา ทิ้งตัว และความทนทานของผ้า
GSM สูง = ผ้าหนาและทึบ | GSM ต่ำ = ผ้าบางและโปร่ง
Gram (แกรม) ของกระดาษ เป็นหน่วยวัด น้ำหนักของกระดาษในหน่วยกรัมต่อตารางเมตร (g/m²) เช่นเดียวกับ GSM ของผ้า แต่ในบริบทของกระดาษ แกรมไม่ได้บอกถึงความหนาของกระดาษโดยตรง เพราะความหนาของกระดาษยังขึ้นอยู่กับประเภทของเยื่อกระดาษและกระบวนการผลิต
ประเภทกระดาษ | ค่าแกรม (g/m²) | ลักษณะและการใช้งาน |
---|---|---|
กระดาษถ่ายเอกสาร | 70 – 80 g/m² | บาง เบา ใช้พิมพ์เอกสารทั่วไป |
กระดาษปอนด์ | 100 – 120 g/m² | ใช้พิมพ์หนังสือ รายงาน |
กระดาษอาร์ตมัน / อาร์ตด้าน | 130 – 300 g/m² | ใช้ทำโปสเตอร์ ใบปลิว นิตยสาร |
กระดาษการ์ด / กล่อง | 250 – 400 g/m² | ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ นามบัตร กล่องสินค้า |
แกรมสูงขึ้น หมายถึงกระดาษหนาและแข็งขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าทึบแสงหรือแข็งแรงกว่าเสมอไป
เปรียบเทียบ | GSM ของผ้า | Gram ของกระดาษ |
---|---|---|
หน่วยวัด | กรัมต่อตารางเมตร (g/m²) | กรัมต่อตารางเมตร (g/m²) |
วัดอะไร? | น้ำหนักและความหนาแน่นของเส้นใยผ้า | น้ำหนักของกระดาษ |
ค่าเพิ่มขึ้นแปลว่า? | ผ้าหนาและหนักขึ้น | กระดาษหนาและแข็งขึ้น (แต่ไม่จำเป็นต้องหนาขึ้นเสมอไป) |
ตัวอย่างค่า | 100-600 GSM (ผ้าม่าน, ผ้าบุ) | 70-400 g/m² (กระดาษ) |
ผลต่อการใช้งาน | มีผลต่อการทิ้งตัว ความโปร่งแสง และความทนทาน | มีผลต่อความแข็ง ความหนา และการพิมพ์ |
GSM ในผ้าหมายถึง “น้ำหนักและความหนาแน่นของเส้นใย”
แกรมของกระดาษหมายถึง “น้ำหนักของกระดาษ” ซึ่งไม่ได้บอกถึงความหนาโดยตรง
เพราะ GSM ในผ้า มีผลต่อ สัมผัส น้ำหนัก และการใช้งานของผ้า ในขณะที่ แกรมในกระดาษ มีผลต่อ การพิมพ์ ความแข็งแรง และการนำไปใช้
ในการเลือกใช้ ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ หรือผ้าตกแต่งบ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพและความเหมาะสมของการใช้งานมีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ หน่วยวัดค่าคุณสมบัติของผ้า ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 หน่วยหลัก ได้แก่
GSM ย่อมาจาก Grams per Square Meter หมายถึง น้ำหนักของผ้าในหน่วยกรัมต่อตารางเมตร ยิ่งค่า GSM สูง ผ้าจะยิ่งหนา แน่น และหนักขึ้น ในทางกลับกัน ค่า GSM ต่ำมักจะหมายถึงผ้าที่บางและเบากว่า
ประเภทผ้า | GSM (กรัม/ตร.ม.) | ลักษณะและการใช้งาน |
---|---|---|
ผ้าม่านโปร่ง (Sheer Fabric) | 80 – 150 GSM | เนื้อบางเบา ให้แสงผ่านได้ ดูโปร่งโล่ง |
ผ้าม่านทึบแสง (Dimout Fabric) | 200 – 350 GSM | ลดแสงบางส่วน เหมาะกับห้องนั่งเล่น |
ผ้าม่านกันแสง (Blackout Fabric) | 350 – 500 GSM | ป้องกันแสงแดด 90-100% เหมาะกับห้องนอน |
ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ (Upholstery Fabric) | 300 – 600 GSM | หนา ทนทาน กันการขีดข่วนและแรงดึง |
Thread Count หรือ TC หมายถึง จำนวนเส้นด้ายที่ทอในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของผ้า โดยคิดรวมเส้นด้ายทั้งแนวตั้ง (warp) และแนวนอน (weft)
ประเภทผ้า | Thread Count (TC) | คุณสมบัติ |
---|---|---|
ผ้าฝ้ายทั่วไป | 150 – 250 TC | ระบายอากาศดี ราคาไม่สูง |
ผ้าปูที่นอนคุณภาพดี | 300 – 500 TC | นุ่ม เนียน เหมาะกับการนอนสบาย |
ผ้าปูที่นอนโรงแรมหรู | 600 – 800 TC | เรียบลื่น หรูหรา สัมผัสนุ่มมาก |
ผ้าไหม ผ้าลินินระดับพรีเมียม | 800 TC ขึ้นไป | คุณภาพสูงมาก ละเอียดสุดๆ |
แม้ว่า GSM และ Thread Count จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผ้า แต่ทั้งสองค่ามีบทบาทที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
คุณสมบัติ | GSM (น้ำหนักผ้า) | Thread Count (ความละเอียดเส้นด้าย) |
---|---|---|
วัตถุประสงค์ | ใช้วัดความหนาและน้ำหนักของผ้า | ใช้วัดความละเอียดและความนุ่มของผ้า |
มักใช้กับ | ผ้าม่าน, ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ | ผ้าปูที่นอน, ผ้าแฟชั่น |
ค่าเพิ่มขึ้นหมายถึง | ผ้าหนาและหนักขึ้น | ผ้านุ่มและเนียนขึ้น |
ตัวอย่างค่า | 200-500 GSM สำหรับผ้าม่าน, ผ้าบุ | 300-800 TC สำหรับผ้าปูที่นอน |
ถ้าคุณต้องการเลือกผ้าสำหรับตกแต่งบ้าน → ดูที่ค่า GSM (น้ำหนักผ้า) ในการวัด GSM สูง = ผ้าหนา ทึบ ทนทาน
ถ้าคุณต้องการเลือกผ้าปูที่นอน → ดูที่ค่า Thread Count (TC) (จำนวนเส้นด้าย) ในการวัด TC สูง = ผ้านุ่ม เรียบหรู