fbpx

Wooden Blinds by Nitas Tessile

มู่ลี่ไม้เป็นม่านหน้าต่างประเภทหนึ่งที่ทำจากแผ่นไม้ที่ต่อเข้าด้วยกันด้วยเชือกหรือเทป เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับทั้งบ้านและสำนักงาน เนื่องจากให้ความเป็นส่วนตัวและการควบคุมแสง ในขณะที่เพิ่มสัมผัสที่เป็นธรรมชาติและคลาสสิกให้กับทุกพื้นที่

มู่ลี่ไม้มีพื้นผิวและขนาดต่างๆ ตั้งแต่เฉดสีอ่อนไปจนถึงสีเข้มของไม้ และสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับขนาดหรือรูปร่างของหน้าต่างใดๆ สามารถปรับดึงด้วยมือ หรือแท่งไม้ปรับ หรือควบคุมด้วยมอเตอร์ที่ช่วยให้ใช้งานสะดวกมากขึ้น

ข้อดีอย่างหนึ่งของมู่ลี่ไม้คือความทนทานและทนต่อการสึกหรอ ทำให้เป็นการลงทุนที่ยาวนานสำหรับบ้านหรือที่ทำงาน นอกจากนี้ยังทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้ง่ายโดยต้องใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปัดฝุ่นหรือเช็ดเป็นครั้งคราวเท่านั้น โดยรวมแล้ว มู่ลี่ไม้เป็นตัวเลือกที่หลากหลายและมีสไตล์สำหรับทุกพื้นที่ ให้ทั้งการใช้งานจริงและความสวยงาม

หน้าต่างแบบต่างๆ

หน้าต่างมีหลากหลายประเภทและชื่อเรียก วันนี้นิทัสเราพามาดูกันดีกว่า ว่าหน้าต่างมีแบบไหนบ้าง ถ้าเราจะแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่

  1. วัสดุที่นำมาทำหน้าต่าง เช่น หน้าต่างไม้ หน้าต่างกระจก-อลูมิเนียม เป็นต้น
  2. ลักษณะการเปิด-เปิด เช่น บานเปิด, บานสไลด์, บานยก เป็นต้น
  3. รูปแบบเฉพาะของชุดหน้าต่าง

แบ่งตามลักษณะการเปิด

บานตาย (เปิดไม่ได้)

บานฟิกซ์ Fixed Windows : บานกระจกที่ปิดตายไม่สามารถเปิดได้ ทำให้สามารถมองเห็นได้ แสงเข้าได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังกันน้ำรั่วซึมตามขอบกระจกได้แนบสนิท และยังไม่เกะกะกับพื้นที่ใช้สอยภายในภายนอกอีกด้วย แต่ข้อเสียของกระจกบานฟิกซ์คือ ไม่สามารถระบายอากาศได้ 


บานเปิดตามจุดหมุน

หน้าต่างบานเปิด Casement Windows : หน้าต่างบานเปิดเป็นหน้าต่างที่มีการใช้มากที่สุด มีให้เลือกหลายวัสดุ สามารถเปิดรับแสง และลมได้ดี ช่วยกำหนดทิศทางการระบายอากาศได้ แต่เมื่อเปิดหน้าต่างอาจส่งผลต่อพื้นที่ภายนอก เพราะจะกีดขวางทางเดินรอบตัวบ้าน ดังนั้นจึงนิยมใช้กับบ้านสองชั้นขึ้นไป

หน้าต่างบานกระทุ้ง Awning Windows: นิยมใช้ในต่างประเทศ เพื่อต้องการแสง แต่ไม่ต้องการให้สูญเสียอุณหภูมิในห้องมากนัก เหมาะกับพื้นที่ที่จำกัด สามารถระบายอากาศได้ดีตลอดเวลา มีความสูงมากกว่าความกว้าง จึงช่วยทำให้การออกแบบหลากหลายมากขึ้นอีกด้วย

หน้าต่างบานหมุน Pivoted Windows: มีทั้งการหมุนเปิดทั้งแนวตั้งและแนวนอน ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก ส่วนใหญ่มักจะเป็นในรูปแบบของงานออกแบบตกแต่ง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจแปลกตา นั่นก็เพราะจุดหมุนซึ่งอยู่ตรงกลางทำให้หน้าต่างสามารถหมุนออกได้เพียง 90 องศา

หน้าต่างทิ้วแอนด์เทิร์น Tilt and Turn Windows : เป็นนวัตกรรมพิเศษของตัวบาน และกลไกลของวงกบในการเปิด ซึ่งสามารถเปิดได้แบบบานสวิงปกติ และสามารถเปิดแง้มด้านบนได้อีกด้วย มักพบในโรงแรมต่างประเทศ ทำให้สามารถเปิดรับลม และแสงได้เพื่อความปลอดภัย ตามมาด้วยราคาที่สูง ในประเทศไทยไม่เป็นที่นิยมมากนัก

หน้าต่างบานเฟี้ยม Folding Windows: เป็นการแก้ปัญหาของการกินพื้นที่ของหน้าต่างบานเปิดปกติ โดยการแบ่งตัวบานให้เป็นบานพับเป็นท่อนๆ สามารถลดพื้นที่ได้ดี สามารถเปิดได้กว้าง แต่มีข้อเสียเรื่องความแข็งแรง และราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหน้าต่างปกติทั่วไป


บานเลื่อน หรือบานสไลด์

หน้าต่างบานสไลด์ Sliding Windows: ด้วยเทคโนโลยีทางด้านวัสดุในปัจจุบันที่นิยมใช้อลูมิเนียม และกระจกเข้ามาทดแทนหน้าต่างไม้ ด้วยรูปแบบของหน้าต่างสไลด์ ที่ไม่กินเนื้อที่ในวงสวิงการเปิด เป็นที่นิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีทั้งแบบเป็นบานฟิกซ์หนึ่งด้าน และอีกด้านสไลด์ หรือจะเป็นแบบสไลด์ทั้งสองบาน

หน้าต่างบนยก Sash Windows: เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของหน้าต่างบานสไลด์แต่จะสไลด์ขึ้นด้านบนแทน
ไม่กินเนื้อที่ในวงสวิงในการเปิด ส่วนใหญ่จะเป็นบานฟิกซ์ข้างบน และบานยกด้านล่าง มักเจอกับบ้านสไตล์ยุโรปที่ต้องการแสงสว่าง แต่ไม่ต้องการสูญเสียอุณหภูมิภายในห้อง


หน้าต่างบานเกล็ดไม้  Louvered Windows: เป็นหน้าต่างที่นิยมในแถบประเทศเมืองร้อน ต้องการอากาศถ่ายเท พลางสายตา เป็นได้ทั้งหน้าต่างบานฟิกซ์ บานเปิด และบานกระทุ้งพบในบ้านสมัยก่อน สมัยที่หน้าต่างส่วนใหญ่ยังเป็นวัสดุไม้ ในปัจจุบันจะปรับใช้เป็นช่องระบายอากาศ

หน้าต่างบานเกล็ดกระจก ปรับได้ Jalousie Windows: เป็นหน้าต่างที่นิยมมากในสมัยก่อน เพราะให้ทัศนวิสัยที่ดี ไม่เสียพื้นที่ในการเปิดปิด ระบายอากาศดี เพราะสามารถปรับหน้าต่างได้ มีหลากหลายประเภทและชื่อเรียก


รูปแบบลักษณะของชุดบานหน้าต่าง

หน้าต่างเข้ามุม Corner Window : เป็นที่นิยมกับบ้าน และคอนโดสมัยนี้ เปิดองศาการมองเห็นได้ดี แต่อาจต้องใส่ใจในเรื่องของการติดตั้งม่านเป็นพิเศษ

เบย์วินโดว์ Bay Window: หน้าต่างยื่นออกจากตัวทรงสี่เหลี่ยมคางหมู มักเห็นในบ้านสไตล์ยุโรป สามารถเปิดรับทัศนียภาพโดยรอบได้ในมุมมองที่กว้างมากขึ้น จากหน้าต่างทางด้านซ้าย-ขวาที่ตั้งอยู่ในมุมเฉียง ในเรื่องของมุมมองที่กว้างขึ้นแล้ว ยังเป็นมุมมองที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ ใกล้กับวิวภายนอกได้มากยิ่งขึ้น  ทำให้แสงสามารถส่องเข้ามาในห้องได้ดีอีกด้วย

โบว์วินโดว์ Bow Windows: หน้าต่างยื่นออกจากตัวทรงโค้ง มักเห็นในบ้านสไตล์ยุโรป แต่เป็นที่สังเกตว่า ทรงของผนังโค้งก็จริงแต่ตัวกรอบของบานกระจกก็จะเป็นแผ่นตรงขนาดไม่กว้างต่อๆ กันให้เป็นตรงโค้ง และในส่วนของความหนาของผนังก็จะหนากว่าปกติ เพื่อให้มีพื้นที่ในการโค้งอีกด้วย

หน้าต่างทรงเรือนกระจก Garden Windows: หน้าต่างยื่นออกจากบ้าน และได้แสงจากหลังคากระจกด้านบน นิยมทำในบ้านสไตล์ยุโรปที่ต้องการแสงสว่างจำนวนมาก เพื่อต้องการปลูกต้นไม้ภายในที่ต้องการแสงแดด ส่งเสริมความมีชีวิตชีวาจากต้นไม้ ให้ความรู้สึกเหมือนเรือนกระจกขนาดย่อมๆในบ้าน


WINTER LOVE SONG Collection

WINTER LOVE SONG
GREY TONE UPHOLSTERY COLLECTION

วินเทอร์เลิฟซอง เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์โทนสีเทา


รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ B-AUTUMN-IN-MY-HEART.png
เล่มรวมผ้าบุสีน้ำตาล
เล่มรวมผ้าบุหลากสี

EVERY WHERE Collection


EVERY WHERE  Upholstery Collection:  เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์


EVERY TIME Collection

EVERY TIME  Upholstery Collection:  เล่มรวมผ้าบุเฟอร์นิเจอร์


FLAME RETARDANT Collection

  1. DIM-OUT ผ้าม่านกันแสง: 80001 SEQUIN80036 LUKE80037 JEDI80038 ANAKIN, 80039 SKYWALKER80040 OBIWAN80041 KENOBI
  2. WIDE WIDTH DIM-OUT ผ้าม่านกันแสงหน้ากว้าง: 80010 RAPHAEL80018 ANGELO80019 LEONARDO80020 DONATELLO80024 EDWARDS80025 ROBERTO80026 BERNADI80042 FORCE80043 ORDER80044 AMIDALA80045 KYLOREN
  3. SHEER ผ้าม่านโปร่ง: 90019 BRICKWORK90021 VINEYARDS90022 TRELLIS90023 CHARDONNAY90024 CABERNET90025 SPARKLING WINE90027 SHIRAZ90029 PORT WINE90030 GRANMONTE90031 GRAPES HOUSE90032 SILVERLAKE

อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่อง Flame retardant


นวัตกรรมผ้ากันไวรัส Anti Virus

ISO 18184:2019 Textiles — Determination of the antiviral activity of textile products

ISO 18184:2019 เป็นมาตรฐานวิธีการทดสอบสมรรถนะการต้านทานเชื้อไวรัสของผ้าและเนื้อผ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ติดต่อกับผ้าและเนื้อผ้าได้ เช่น เชื้อไวรัสโคโรนา และเป็นการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสบนผ้าและเนื้อผ้า

ขั้นตอนของ ISO 18184:2019 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. เตรียมตัวต้นแบบ (Prototype Preparation) – การเตรียมตัวต้นแบบผ้าทดสอบ ซึ่งจะต้องเป็นผ้าและเนื้อผ้าที่สามารถทดสอบได้เท่านั้น โดยผ่านการกำหนดขนาดผ้าและเนื้อผ้า เตรียมตัวผ้าเพื่อให้มีความเปียกชุ่ม (Wetting), และใช้วิธีการตัดผ้าสำหรับทดสอบเข้ากับตัวเครื่องทดสอบ
  2. การทดสอบ (Test Procedure) – การทดสอบการต้านทานเชื้อไวรัสของผ้าและเนื้อผ้า โดยวิธีการทดสอบคือการใช้เชื้อไวรัสที่กำหนดมาในการทดสอบ นำไปสัมผัสกับผ้าและเนื้อผ้าที่เตรียมไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า และวัดปริมาณของเชื้อไวรัสที่เหลืออยู่บนผ้าและเนื้อผ้า โดยใช้เทคนิคการวัดความเจือจางของเชื้อไวรัส นับเป็นจำนวนก้อน (Plaque)
  3. การประเมินผล (Result Evaluation) – การประเมินผลการทดสอบ โดยใช้ค่าปริมาณเชื้อไวรัสที่เหลืออยู่บนผ้าและเนื้อผ้า และนำไปคำนวณเป็นคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพื่อประเมินความสามารถในการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสบนผ้าและเนื้อผ้า

ด้วยการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 18184:2019 จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ติดต่อกับผ้าและเนื้อผ้าได้ และช่วยให้ผู้ผลิตผ้าและเนื้อผ้าได้รับการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถในการต้านทานเชื้อไวรัสอย่างแท้จริง โดยการทดสอบด้วยมาตรฐานที่มีความเป็นมาตรฐานสากลจะช่วยให้ผู้บริโภคได้มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานผ้าและเนื้อผ้าในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย