fbpx

ตู้วิเศษจงบอกข้าเถิด ผ้าตัวไหนสีเพี้ยน

Color Matching Cabinets

ไม่ต้องมนต์วิเศษใดๆ เราก็สามารถรู้ได้ว่าสีเพี้ยนหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นฉบับ ตู้นี้ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยเช่นกัน

Color Matching Cabinets หรือ ตู้เทียบสี เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการประเมินสีในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น สิ่งทอ การพิมพ์ ยานยนต์ หรือจะกล่าวได้ว่าทุกวงการ ที่จำเป็นต้องงมีการเปรียบเทียบกับสีเดิมที่เป็นต้นฉบับ หรือสีตัวอย่างที่ต้องการ โดยมีการออกแบบมาให้สภาพแสงมาตรฐาน โดยจำลองสภาพแวดล้อมของแสงที่แตกต่างกัน เช่น แสงกลางวัน และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพื่อใช้เปรียบเทียบสีสภาพแสงต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญนั้นเอง

ตู้จับคู่สีเครื่องแรกได้รับการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดยบริษัท Munsell Color สำหรับการจับคู่สีในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ตั้งแต่นั้นมา ตู้เทียบสีก็ได้รับการพัฒนา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มเทคโนโลยีไฟแบบใหม่ LED เข้าไปด้วย และแสงที่ถือว่าเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบสีหลักๆ คือแสงจากหลอด D65 หรือแสงที่มีอุณหภูมิสี 6500K ซึ่งเป็นอุณหภูมิแสงที่ใกล้เคียงแสงแดดที่สุด (โซนยุโรป อเมริกา) กำหนดโดย International Commission on Illumination (CIE) ในปี 1964

ปัจจุบัน ตู้จับคู่สีมีการกำหนดค่าที่หลากหลายและมีแหล่งกำเนิดแสงหลายแหล่งสำหรับการจำลองสภาพแสงที่แตกต่างกัน ตู้บางตู้ยังใช้ไฟฟลูออเรสเซนต์ ในขณะที่ตู้อื่นๆ ใช้ไฟ LED เพื่อประหยัดพลังงาน และค่าความถูกต้องสีสูง (CRI) สามารถรวมแสงหลายประเภทไว้ในตู้เดียว ช่วยให้สลับระหว่างแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ได้ง่าย โดยรวมแล้ว ตู้เทียบสีเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการประเมินและจับคู่สีที่แม่นยำในอุตสาหกรรมต่างๆ

จากรูป เป็นการเปรีบเทียบสี จะเห็นว่ารูปด้านซ้าย ไม่เห็นความแตกต่างของสี เมื่ออยู่ใน แสงจากหลอดไฟ เดย์ไวท์ อุณหภูมสี 5000K (แสงขาว) แต่เมื่อเทียบกับรูปทางขวา ซึ่งจะเห็นสีไม่เท่ากันไปอยู่ในแสงทางด้านขวา ที่เป็นแสงวอร์มไวท์ อุณหภูมสี 2700K (แสงเหลือง)

หลอดไฟชนิดต่างๆ ในตู้เทียบสี

แหล่งกำเนิดแสงหลายแหล่งเป็นคุณลักษณะสำคัญของตู้จับคู่สี เนื่องจากช่วยให้สามารถจำลองสภาพแสงประเภทต่างๆ เพื่อประเมินความถูกต้องของสีภายใต้สถานการณ์ต่างๆ แหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ที่ใช้ในตู้เทียบสีมักจะมีอุณหภูมิสี และค่าความถูกต้องสี (CRI) ที่แตกต่างกัน เพื่อจำลองประเภทของแสงกลางแดดและสภาพแสงอื่นๆ ได้แก่

  • D65 (Daylight 6500K): แหล่งกำเนิดแสงที่จำลองแทนแสงแดดตอนกลางวัน (โซนยุโรป, อเมริกา) ที่มีอุณหภูมิสี 6500K และ CRI 95 ใช้อ้างอิงสำหรับการประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นหลัก
  • D50 (Daylight 5000K): แหล่งกำเนิดแสงที่จำลองแทนแสงแดดตอนกลางวัน (โซนเอเชีย) ที่มีอุณหภูมิสี 5000K และ CRI 98 ใช้อ้างอิงสำหรับการประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมต่างๆ เปรียบกับสลับกับ D65 ไปมา โดยเฉพาะงานปรู๊ฟสี และงานภาพถ่าย
  • U30 (30 Phosphor Luminescence): แหล่งกำเนิดแสงที่มีอุณหภูมิสี 3000K และ CRI 82 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมพลาสติก และสิ่งทอ
  • TL84 (Tubular Luminescence 840): หลอดฟลูออเรสเซนต์สีขาวนวลที่มีอุณหภูมิสี 4000K และ CRI 85 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง และพลาสติก
  • CWF (Cool White Fluorescent): หลอดฟลูออเรสเซนต์สีขาวนวลที่มีอุณหภูมิสี 4150K และ CRI 62 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมการพิมพ์
  • F (Fluorescent): หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีอุณหภูมิสี 2700K และ CRI 50 มักใช้เพื่อประเมินความถูกต้องของสีในอุตสาหกรรมยานยนต์
  • A (Incandescent): หลอดไส้ที่มีอุณหภูมิสีประมาณ 2856K และค่า CRI 100 เป็นแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐานแห่งแรกสำหรับการประเมินสี และยังคงใช้ในบางอุตสาหกรรมในปัจจุบันเพื่อประเมินความถูกต้องของสีภายใต้สภาพแสงจากหลอดไส้
  • UV (Ultraviolet): แหล่งกำเนิดแสงหลอด UV เพื่อประเมินความคงทนของสีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และพลาสติก รวมถึงผลกระทบของแสง UV ต่อรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เมื่อเวลาผ่านไป แหล่งกำเนิดแสง UV ในตู้เทียบสีมักจะปล่อยแสง UV ในช่วง 320-400 นาโนเมตร ซึ่งคล้ายกับแสง UV ที่พบในแสงแดดธรรมชาติ

รูปตัวอย่างแหล่งกำเนิดแสง (หลอดไฟ) ชนิดต่างๆ ซึ่งในบริเวญปลายหลอด ก็มักจะมีการเขียนกำกับไว้ว่าเป็นหลอดชนิดใด


การใช้แหล่งกำเนิดแสงหลายแหล่งในตู้จับคู่สีช่วยให้สามารถประเมินความถูกต้องของสีภายใต้สภาพแสงที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ถึงความแม่นยำของสีที่สม่ำเสมอในผลิตภัณฑ์และการใช้งานต่างๆ