fbpx

สีไฟต่าง สีผ้าก็ต่างนะจ๊ะ

เคยไหมที่เวลาเราซื้อเสื้อผ้าสี เทา, กากี, น้ำตาล, สีเขียวขี้ม้า ในห้างสรรพสินค้า แล้วเรากลับถึงบ้านไปลองใส่แล้ว ทำไมเป็นอีกสีหนึ่ง หรือเมื่อเราใส่เดินออกนอกบ้านก็เห็นเป็นอีกสีหนึ่ง คำตอบคือ อุณหภูมิสีนั้นเอง เพราะหลอดไฟที่เราใช้ในบ้าน มีค่าอุณหภูมิสีที่ไม่เท่ากับห้างสรรพสินค้านั้น หรือไม่ตรงกับแสงธรรมชาติอย่างดวงอาทิตย์ก็เป็นได้

แล้วเจ้าอุณหภูมิสีคืออะไร อธิบายง่ายๆ คือ เป็นค่าที่วัดจากแสงที่ปล่อยออกมานั้นเองโดยมีหน่วยวัดเป็น เคลวิน หรือตัวย่อ K เช่น หลอดไฟ Warm White จะมีค่าอยู่ประมาณ 3,000k, หลอดไฟแสง Cool White 4,000k และ Daylight 6,000k ส่วนแสงแดด ก็จะอยู่ราวๆ 5,000-5,500k ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเกิดการสับสนเรื่องสีเวลาเราซื้อของ

รูปทั้งสามอันจะเห็นว่า ผ้าโซฟาสีเทาอมน้ำตาลรูปซ้ายอยู่ในไฟ Warm White รูปกลางไฟ Cool White และรูปทางขวามือเป็นห้องที่อยู่ในไฟ Daylight จะเห็นได้ว่าสีของทั้งผ้า โต๊ะไม้ สีของใบไม้ รวมถึงผนังห้อง ก็จะเปลี่ยนไปตามแสงของหลอดไฟชนิดนั้นๆ

แต่สังเกตุได้ว่า เมื่อเราอยู่ห้องที่มักนิยมติดไฟแบบ Warm White (ไฟที่สีขาวอมเหลืองส้ม) เช่น ห้องนอน ซึ่งแสงโดยรวมๆ จะเป็นสีขาวอมเหลืองๆ ส้มๆ ผนังห้องสีขาวเราก็จะเห็นเป็นสีครีมๆ แต่ในสมองของเราก็จะปรับการรับรู้อัตโนมัติ White Balance บอกว่าผนังนั้นคือสีขาว ทั้งๆ ที่สีจากแสงผนังนั้นเป็นสีเหลืองๆ อมส้มก็ตาม

จากรูปเป็นลักษณะ องศาเคลวิน กับแหล่งกำเนินแสงชนิดต่างๆ ทั้งในธรรมชาติ และไฟที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จนถึงแสงเทียน

รูปตัวอย่างจำลองให้เห็นระดับไฟ ที่มีอุณหภูมิสี ที่ต่างกัน จะเห็นเปรียบเทียมได้ว่า แม้กระทั่งผนังของห้องดังรูปเป็นสีขาว แสงที่อออกมาก็ส่งผลทำให้บรรยากาศของห้องเปลี่ยนไปตามอุณหภูสี ของแห่งกำเนินแสงที่ปล่อยออกมา ตั้งแต่องศาเคลวินน้อยๆ 1,000 จนไปถึง 10,000 เลยที่เดียว

ฉะนั้น เมื่อเราจะเลือกผ้าม่าน หรือจะเลือกสีทาห้องก็ตาม เราควรเลือกสีนั้นๆ โดยสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกับแสงที่เราใช้ในห้องนั้นๆ เช่นถ้าจะเลือกสีผ้าห้องนอนที่ติดตั้งไฟ Warm White ก็ควรดูสีผ้าในบรรยากาศที่เป็นไฟ Warm White แต่แรก หรือ เราสามารถเลือกจากค่ากลาง เช่นแสงธรรมชาติ คือแสงอาทิตย์ เดินหยิบเล่มตัวอย่างไปเลือกริมหน้าต่างเพื่อรับแสงธรรมชาติ ก็จะง่ายที่สุด หรือเมื่อเรารู้เท่าทันแล้วว่า แสงที่ต่างกันก็จะส่งผลให้เรามองเห็นสีผ้าที่ต่าง เราจะจินตนาการเผื่อไว้ว่า ถ้าเลือกผ้าจากร้านที่เป็นหลอดไฟสีขาวๆ แต่บ้านเราเป็นไฟเหลือง เราก็อย่าเลือกผ้าที่อมไปทางเหลืองมากนัก เพราะเมื่อโดนไฟเหลืองแล้ว มันจะเหลืองไปกันใหญ่ แต่นี้เราก็สามารถเลือกสีผ้าได้อย่างสบายใจไม่ต้องกังวลว่าสีผ้านั้นเพี๊ยน “เอ๊ะ ตอนเลือกสีมันไม่ได้เป็นแบบนี้นี้นะ” คำพูดนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นกันคุณอีกต่อไป

เลือกผ้าสู้ฝุ่น PM 2.5

ฝุ่นน้อย คือสวรรค์ของบ้าน

คำนี้คงไม่ได้กล่าวเกินไปนักสำหรับ คุณแม่บ้านที่รักบ้าน หรือมีลูกน้อย ฝุ่นเป็นปัญหากวนใจที่เราต้องกำจัดไปให้พ้นสายตา ฝุ่นนั้นเป็นอะไรที่ล่องลอยมาตามสายลม ฉะนั้นการที่ห้องจะมีฝุ่นน้อยได้ จำเป็นต้องเป็นห้องที่เป็นห้องที่อากาศปิดก่อนเป็นอันดับแรก ก็คือห้องที่เราเปิดแอร์กันเป็นปกตินี้เองจะ

ม่านเป็นพื้นที่ใหญ่พอสมควร และเป็นพื้นที่มีโอกาสรับฝุ่นมากเช่นกัน

  • เลือกผ้าม่านที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์เช่น Polyester เพราะผิวเส้นใยเรียบเนียนกว่าเส้นใยธรรมชาติ ลดโอกาสการเกาะของฝุ่น
  • ผ้าที่ทอแน่นความละเอียดสูง เส้นใยเล็กละเอียด และการทอแน่น จากรูปเปรียบเทียบ รูป A จะเห็นว่ามีการทอที่แน่น ชิดกัน ช่องว่างระหว่างเส้นใยน้อย มากกว่า B, C ลดโอกาสการเกาะของฝุ่นได้
  • เนื้อผ้าเรียบ เนียน เงา ลายทอแบบ ซาติน, ทวิล โดยเฉพาะ ซาติน เป็นลายทอที่มีการกระโดดข้ามของเส้นด้ายสูง ไม่สลับขึ้นลงทุกๆ ช่วงด้ายแบบลายเพลน จึงส่งเสริมให้ผ้ามีความเรียบเนียน และมีความเงาที่มากขึ้นด้วย ลดโอกาสการเกาะของฝุ่น

เหนืออื่นได้สไตล์การตกแต่งห้อง เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดสไตล์ที่ส่งผลถึงภาพลักษณ์ของเจ้าของห้องนั้นๆ ไม่ว่าผ้าม่านนั้นจะเป็นที่ลักษณะอย่างไร ในปัจจุบันส่วนใหญ่เราก็อาศัยอยู่ในห้องแอร์ กันโดยส่วนใหญ่กันอยู่แล้ว ฉะนั้นเรื่องปัญหาฝุ่นที่จะมาเกาะติดกับผ้าม่านนั้นก็เป็นส่วนน้อย ยิ่งถ้าม่านนั้นเป็นม่านที่ใช้งานจริง มีการเปิด-ปิด เคลื่อนไหวอยู่ ตลอดโอกาสการเกาะของฝุ่นก็ลดน้อยลงตามลำดับ

สามารถดูตัวอย่างสินค้าได้ตามลิงค์นี้

พิชิต 5 ขั้นตอนการเลือกม่าน

วันนี้เรามาดูกันว่า กว่าที่เราจะเลือกผ้าม่านในแต่ละครั้งนั้น ต้องมีขั้นตอน อะไรบ้าง

  1. ตำแหน่ง เราต้องแยกก่อนว่าเราจะทำผ้าม่านในส่วนใด ระหว่างประตูและหน้าต่าง เพราะมีรายละเอียดในการวัด การเผื่อในการคำนวนที่แตกต่างกัน และที่สำคัญม่านหน้าต่างนั้นมีระดับความยาว 2 แบบ คือ แบบยาวเลยวงกบล่างลงมาประมาณ 20 ซม. ซึ่งเป็นที่นิยมกันในแบบบ้านทั่วไป และแบบที่ยาวจรดพื้นนั้นจะสูงลอยจากพื้นประมาณ 1- 5 ซม. ซึ่งเป็นความยาวแบบสากลที่นิยมกันมากกว่า
  2. ประเภทของผ้าม่าน ผ้าม่านโปร่งเป็นม่านชั้นที่สองเพื่อการกรองแสง และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีของห้องนั้นๆ ส่วนผ้าม่าน, ผ้าม่านกันแสง และผ้าม่านทึบแสง เป็นผ้าม่านหลักที่ต้องเลือกจากคุณสมบัติของผ้า ผ้าม่านส่วนใหญ่จะเน้นเพื่อความสวยงามเป็นหลัก หรือถ้าต้องการคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติม เช่น การกันแสง ในกรณีที่ห้องนอนไปอยู่ทิศตะวันตก จะโดนแดดบ่ายทั้งวัน ก็ควรใช้ผ้าม่านกันแสง (Dim-out), ผ้าม่านทึบแสง (Blackout) เพื่อช่วยแก้ปัญหาทิศทางของห้องนั้นๆ ได้อีกด้วย หรือเพื่อคุณสมบัติที่เจาะจง เช่น หากต้องการทำห้องโฮมเธียเตอร์ ไม่ต้องการแสงสว่างจาภายนอกเลย ก็ควรเลือกผ้าม่านทึบแสง (Blackout) เป็นต้น และสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับผ้าม่านกันแสง และทึบแสงได้ที่นี่
  3. รูปแบบการเย็บผ้าม่าน ได้แก่ แบบม่านตาไก่, ม่านคอกระเช้า, ม่านจีบไม่ว่าจะเป็น 2 จีบ 3 จีบแบบมาตรฐานก็ได้ และสุดท้ายคือแบบม่านลอน หรือที่เรียกว่าม่านลอน S ซึ่งจะมีรายละเอียดในการล็อคลอนที่ตัวผ้าเองโดยวิธีการเย็บ หรือ ล็อคลอนโดยรางม่านก็ได้
  4. รางม่าน รางม่านที่นิยมโดยทั่วไปในท้องตลาดคือรางโชว์ ซึ่งมีรูปแบบของหัวรางที่สวยงาม และวัสดุที่หลากหลายมาก ทั้งท่อโลหะ หลากหลายชนิด, สี แต่มีข้อจำกัดด้านความยาวของรางม่านที่ได้ไม่เกิน 3 เมตร ส่วนรางไมโครนั้นมีข้อดีคือสามารถทำความยาวของม่าน ยาวเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งผนัง และเพดาน และมีคุณภาพที่แตกต่างกันหลากหลายแบรนด์ โดยทั่วไปจะเป็นสีธรรมชาติ คือสีวัสดุที่เป็นอลูมิเนียม แต่ก็ยังมีสีขาว และสีดำให้เลือกเช่นกัน
  5. เนื้อผ้า เป็นสิ่งละเอียดอ่อน และต้องให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเราต้องตัดสินใจ เรื่องเนื้อผ้าที่ทำจากวัสดุที่หลากหลายเช่น ฝ้าย, โพลีเอสเตอร์, ลินิน, เรยอน ฯลฯ ซึ่งชนิดของเส้นใยที่กล่าวมานี้ก็จะส่งผลต่อคุณสมบัติต่างๆ ของผ้าม่านด้วย ต่อไปคือลักษณะทางกายภาย เช่น ผิวสัมผัส ความนุ่ม-หยาบ, ความหนา-บาง, ความเงา-ด้าน, คุณสมบัติการกันแสง, สีสัน ลวดลาย, รวมไปถึงการทิ้งตัวของผ้า เมื่อทำเป็นลอนม่านแล้วจะมีลักษณะการทิ้งตัวเป็นอย่างไร และที่สำคัญลักษณะโดยรวมของผ้านั้นๆ บ่งบอกถึงสไตล์การตกแต่ง และตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ^ . ^

ผ้าม่านสีเข้มห้องแคบ ผ้าม่านสีอ่อนห้องกว้าง จริงหรือ?

  • ผ้าม่านสีอ่อน มีการสะท้อนแสงที่มากกว่า ผ้าสีเข้ม จึงทำให้แสงจากแห่งกำเนิดแสง มีการสะท้อนและกระจายได้มากกว่า ซึ่งทำให้ห้องโดยรวมดูสว่างกว่า เมื่อเปรียบเทียบห้องที่ผ้าม่านสีเข้มกว่า จึงทำให้ห้องดูเสมือนว่า ห้องกว้างนั้นเอง
  • เหมาะกับห้อง สไตล์อบอุ่น ร่วมสมัย ห้องที่ต้องการความส่าง ความแอคทีฟ ต้องการสะท้อนของแสงมาก เช่น ห้องรับแขก, ห้องนั่งเล่น, ห้องทำงาน เป็นต้น
  • ผ้าม่านสีเข้ม จะมีการสะท้อนแสงที่น้อยกว่า ผ้าสีอ่อน จึงทำให้แสงจากแห่งกำเนิดแสง มีการสะท้อนและกระจายได้น้อยกว่า ซึ่งทำให้ห้องโดยรวมดูมืดกว่า เมื่อเปรียบเทียบห้องที่ผ้าม่านสีอ่อนกว่า จึงทำให้ดูเสมือนว่าห้องแคปนั้นเอง
  • เหมาะกับห้อง สไตล์โมเดิร์น หรูหร่า ห้องที่ต้องการความสงบ ไม่ต้องการสะท้อนของแสงไม่เยอะมาก เช่น ห้องนอน เป็นต้น

การคำนวน BTU เครื่องปรับอากาศ

ก่อนที่เราจะมาคำนวน BTU เรามารู้กันก่อนว่า BTU นั้นคืออะไร

BTU (British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในระบบของเครื่องทำความเย็น โดยที่ความร้อน 1 BTU คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ โดยจะวัดความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียู (BTU) เช่นแอร์ขนาด 18,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าแอร์เครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้อง 18,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมงนั้นเอง

*เกณฑ์การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ

    • A 750 บีทียู ต่อ ตารางเมตร เหมาะสมกับห้องนอน
    • B 1000 บีทียู ต่อ ตารางเมตร เหมาะสมกับห้องรับแขก สำนักงานและห้องที่มีผนังรับแสงแดด 2 ด้านขึ้นไป

สมมุติว่าคอนโดเราขนาด 31 ตารางเมตร ห้องทิศที่ไม่ค่อยโดนแดด ก็เอา 750×31= 23,250 แปลว่าเราต้องหาซื้อเครื่องปรับอากาศที่ขนาดใกล้เคียงกับ BTU จากระดับเป็นช่วงๆ นั้นคือ 24,000 BTU นั้นเอง

นอกเหนือไปจากการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมแล้ว การเลือกผ้าม่านประเภท DIM-OUT, BLACKOUT จากนิทัส เทสซิเล จะสามารถปกกันความร้อนจากแสงแดดเข้ามาในห้อง ช่วยลดอุณหภูมิห้องได้ถึง 1-2 องศา ซึ่งช่วยลดพลังงานจากเครื่องปรับอากาศ และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย

ย้อมก่อนทอ หรือทอก่อนย้อมดี?

การย้อมเส้นด้าย (Yarn Dyed) และการย้อมผืนผ้า (Piece Dyed) เป็นสองวิธีทั่วไปที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเพิ่มสีสันให้กับเนื้อผ้า ความแตกต่างคือ

  • การย้อมเส้นด้าย (Yarn Dyed): เป็นการย้อมในที่เป็นเส้นด้าย ก่อนที่จะทอ (Woven) หรือถัก (Knitted) เป็นผ้า การย้อมเส้นด้ายช่วยให้ได้ลวดลายและการออกแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำเส้นด้ายที่มีสีต่างกันมาทอหรือถักเข้าด้วยกันเพื่อสร้างลวดลายที่ต้องการได้ ผ้าที่ได้จะมีสีที่สดใส และติดทนนาน เนื่องจากสีย้อมจะแทรกซึมเข้าไปในเส้นด้ายทั้งหมด
  • การย้อมผืนผ้า (Piece Dyed): วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการย้อมผ้าทั้งผืนหลังจากที่ทอหรือถักแล้ว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายกว่าและคุ้มค่ากว่า แต่จะจำกัดประเภทของรูปแบบที่สามารถทำได้ ผ้าที่ได้อาจมีสีที่สดใสน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากสีย้อมไม่ได้ซึมผ่านเส้นใยได้ลึกเท่าการย้อมเส้นด้าย

โดยสรุป การย้อมเส้นด้ายเหมาะสำหรับการสร้างลวดลายและการออกแบบที่สลับซับซ้อน ในขณะที่การย้อมเป็นผืนจะคุ้มค่ากว่า และมีประสิทธิภาพสำหรับผ้าสีเรียบๆ

การปรากฏของสีและลวดลายบนบนผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าม่าน หรือผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่เราเห็นสวยงามนั้น แท้จริงแล้วมีการให้สีได้หลายแบบ ดังนี้

ย้อมสีก่อนการทอ (Yarn Dyed)

เป็นกระบวนการให้สี โดยการนำเส้นด้ายไปย้อมสีก่อนการทอขึ้นเป็นผืนผ้า

  • ข้อดีคือ สามารถเก็บชุดสีด้ายเตรียมไว้สำหรับการทอได้ก่อน เมื่อมีความต้องการ สามารถสั่งผลิต หรือขึ้นตัวอย่างผ้าได้ง่ายกว่า สามารถให้สีผ้าได้มากสูงสุดถึง 12 สีในการทอหนึ่งผืน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มักใช้ชนิดเส้นด้ายและสีที่ต่างกันประมาณ 3 แบบเท่านั้น และในขณะที่กำลังทอสามารถเห็นสีจริงในขณะที่ทอได้เลย นอกจากนั้นยังเก็บสต็อกชุดสีเส้นด้ายแค่ชุดเดียว แต่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทอ หรือลวดลายต่างกันได้หลายรูปแบบ
  • ข้อเสียคือ ต้องเก็บสต็อกชุดสีจำนวนมาก ในแต่ละชุดด้ายที่แตกต่างกัน

ทอก่อนย้อมสี (Piece Dyed)

เป็นกระบวนการให้สีหลังจากการทอผ้าเสร็จแล้ว จากนั้นจึงนำไปย้อมสี แต่ถ้าผ้าหนึ่งผืนมีความต้องการมากกว่าหนึ่งสีจะต้องทำอย่างไร คำตอบคือต้องใช้คุณสมบัติของเส้นด้ายที่กินสีแตกต่างกันนั้นเอง เช่น ต้องการผ้าที่มี 2 สีโดยเป็นผ้า Piece Dyed ในผืนผ้าต้องประกอบไปด้วยเส้นใย 2 ชนิด เช่น ฝ้าย และโพลีเอสเตอร์ ซึ่งสีที่สามารย้อมฝ้ายก็จะไม่ติดเส้นใยโพลีเอสเตอร์ และในทางกลับกันสีที่ย้อมโพลีเอสเตอร์ก็จะไม่ติดฝ้ายเช่นเดียวกัน ด้วยเทคนิคนี้จึงสามารถทำให้ผ้า สามารถมี 2 สีได้

  • ข้อดีคือ สามารถทอผ้าดิบเก็บไว้จำนวนครั้งละมากๆ แล้วจึงตัดส่วนไปย้อมได้ตามคำสั่งของลูกค้าที่มีความต้องการชุดสีที่แตกต่างกันไป
  • ข้อเสียคือ ไม่สามารถมองเห็นสีจริง ได้ในขณะทอ ต้องรอจนกว่าการย้อมจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งกระบวนการย้อมต้องมีความละเอียดเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้สีด่าง หรือสีช่วงต้นม้วนและปลายม้วนออกมาไม่เสมอกัน

ในขบวนการการย้อมสิ่งทอจริงๆ แล้วมีขั้นตอน ที่ก่อนและหลังจากบทความข้างต้น ดังนี้

  1. Fiber dyeing ย้อมเส้นใย
  2. Yarn dyeing การย้อมเส้นด้าย
  3. Fabric dyeing การย้อมผืนผ้า
  4. Garment dyeing การย้อมเสื้อผ้าสำเร็จ

นอกจาก 2 กระบวนการดังกล่าวแล้วยังมีการให้สีลงบนผืนผ้าโดยการพิมพ์อีกด้วย

การพิมพ์สีลงไปในผ้า หรือที่เรียกว่าผ้าพิมพ์ (Printed Fabric)

ซึ่งผ้าพิมพ์นี้เป็นผ้าที่เกิดการให้สีหลังจากการทอเหมือนข้อข้างต้นแต่จะไม่ได้นำผ้าทั้งผืนลงไปย้อมในหม้อย้อม แต่จะใช้กระบวนการพิมพ์ซึ่งมีหลากหลาย ดังนี้

  • การพิมพ์แบบดิจิตอล (Digital Print) เปรียบเทียบง่ายๆ คือการพิมพ์ผ้าแบบ Inkjet ตรงลงบนตัวผ้าเลย การพิมพ์แบบนี้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ได้สีสันมากตามต้องการในกระบวนการเดียว ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะต้นทุนในการพิมพ์ต่อหลายังสูงกว่าการพิมพ์ชนิดอื่น
  • การพิมพ์แบบฮีททรานเฟอร์ (Heat Transfer) หรือที่เรียกว่าการพิมพ์แบบรีดร้อน เป็นการพิมพ์แบบลงบนกระดาษก่อน แล้วจึงนำกระดาษนั้นประกบกับผ้าแล้วกดทับด้วยแรงกดและความร้อน ลายพิมพ์ดังกล่าวจะระเหิดมาติดลงบนผืนผ้าแทน การพิมพ์แบบนี้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ได้สีสันมากตามต้องการในกระบวนการเดียว เป็นการพิมพ์ที่นิยมมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน
  • การพิมพ์ฉลุลายผ้า (Silk Screen) หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า การพิมพ์ซิลค์สกรีน เป็นการทำแบบลงบนบล็อกผ้าไหม ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้ผ้าไหมจริงๆ เพราะเส้นไหมมีความละเอียด ทำให้ช่องว่างมีความถี่เหมาะกับการทำบล็อกสกรีน แต่ในปัจจุบันใช้เส้นใยสังเคราะห์แทน โดยใช้หลักการที่ว่า จะสร้างลวดลายในบล็อกสกรีนโดยให้ลวดลายที่ต้องการโปร่ง และให้ส่วนที่ไม่ต้องการเกิดลวดลายทึบ แล้วจึงนำไปทาบกับผืนผ้า จากนั้นจึงใช้ยางปาดสีให้ทะลุลงไปติดกับผ้าจนเกิดลวดลายขึ้นมา หนึ่งบล็อกต่อการพิมพ์ 1 สี ในอุตสาหกรรมใหญ่ที่พิมพ์ผ้าแบบนี้อยู่ ได้แก่ ผ้าโขมพัสตร์ เป็นต้น
  • การพิมพ์แบบโรตารี่ (Rotary Printing) เป็นการพิมพ์โดยแบบลวดลายจะปรากฏอยู่ที่ลูกกลิ้งทรงกระบอกยาวเท่ากับหน้าผ้าที่จะพิมพ์ แล้วลูกกลิ้งจะหมุนตัวไปรับหมึกสีที่จะพิมพ์ แต่ละสี ต่อหนึ่งลูกกลิ้ง กดและถ่ายทอดสีลงบนผืนผ้า การพิมพ์แบบนี้เป็นการพิมพ์ที่นิยมมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน

ไม่ว่าผ้านั้นๆ จะสร้างลวดลายด้วยกรรมวิธีใดๆ ก็ตาม ประเด็นความสำคัญคือความพึงพอใจของคุณที่มีต่อผ้าตัวนั้นๆ เป็นหลักนะจ๊ะ


เฟอร์นิเจอร์ตัวนี้ ใช้ผ้าเท่าไร ?

อยากเปลี่ยนผ้าโซฟาตัวโปรด ว่าแต่ เฟอร์ตัวนี้มันใช้กี่หลากันนะ?

ก่อนที่เราจะรู้ว่าเฟอร์นิเจอร์ตัวโปรดนั้น ใช้ผ้าในการเปลี่ยนเท่าไร เรามาดูวิธีวัดกันก่อน

    • A B ความกว้าง-ยาว ของพนักผิงด้านใน
    • C D ความกว้าง-ยาว ของพนักผิงด้านนอก
    • E F ความกว้าง-ยาว ของพนักวางแขนด้านใน
    • H G ความกว้าง-ยาว ของพนักวางด้านนอก
    • I J ความกว้าง-ยาว ของเบาะรองนั้ง
    • K L ความกว้าง-ยาว ของขอบหน้า

ตัวอย่าง จำนวนการใช้ผ้าของ เฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้นั้งรับประทานอาหาร, อาร์มแชร์, วิงค์แชร์, โซฟา 1-3 ที่นั่ง จะสังเกตุได้ว่า รูปแบบของการบุเฟอร์นิเจอร์ที่ต่างกันมีผลต่อจำนวนผ้า เช่น การบุแบบดึงดุมจะใช้ผ้าเปลืองกว่าการบุธรรมดาพอสมควร

 

PVC vs PU ต่างกันอย่างกันอย่างไร ?

Synthetic Leather

Synthetic Leather วัสดุสังเคราะห์ทดแทนหนัง หรือที่เรียกติดปากว่า “หนังเทียม” นอกจากหนังแท้  (Natural Leather) คือ หนังสัตว์ เช่น หนังจิงโจ้, หนังวัว, หนังจระเข้ ฯลฯ หนังสังเคราะห์ คือวัสดุที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นมาด้วยกระบวนการทางเคมี หรือเรียกว่า โพลิเมอร์ (Polymer) ซึ่งคือการนำเอาพลาสติกที่มีผลิตขึ้นมาจากสารประกอบที่มีอยู่ในธรรมชาติมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์ที่เรียกว่า โพลิเมอร์ไรเซชั่น (Polymerization) ทำให้ได้พลาสติกตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป จนเกิดเป็นพลาสติกที่มีเยอะแยะมาก เช่น PU (Poly Uretane), PVC (Polyvinylchloride), Microfiber (พลาสติกเส้นเล็กที่มีขนาดเส้นเล็กๆ เรียงตัวกัน) นอกจากนั้นยังมีหนังผสม (Composite Leather) ซึ่งเกิดจากชั้นล่างเป็นวัสดุจากผ้าสิ่งทอและเททับด้วยโพลิเมอร์ที่มีส่วนผสมหลายอย่างกดทับเป็นลายหนัง

ในวงการผ้าเพื่อการตกแต่งที่อยู่อาศัย หรือเรียกง่ายๆ ว่า ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ก็มักนิยมใช้มาก คือ

  1. PU (Poly Urethane)
    • ข้อดีคือ ให้ความรู้สึกเหมือนหนังแท้ทั้งการสัมผัส และการมองเห็น ความนุ่มเหมือนหนังแท้ ทำความสะอาดง่าย กันน้ำด้วยตัววัสดุเองอยู่แล้ว
    • ข้อเสียคือ อายุการใช้งานสั้นกว่า PVC โดยอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 3-5 ปี แล้วแต่คุณภาพของสินค้า และสภาพสิ่งแวดล้อมด้วย เมื่อเสื่อมสภาพจะเกิดการหลุดร่อนออกจากชั้นผ้าด้านหลัง สังเกตเห็นเป็น การบวมนูนออกมาเป็นผิว PU บางๆ คล้ายกับการติดสติกเกอร์แล้วไม่เรียบเนียน ทำให้เกิดฟองอากาศ
  2. PVC (Polyvinylchloride)
    • ข้อดีคือ ให้ความรู้สึกเหมือนหนังแท้ทั้งการสัมผัส และการมองเห็น แต่อายุการใช้งานที่คงทนกว่า PU โดยอายุการใช้งานเฉลี่ยคือ 3-7 ปี แล้วแต่คุณภาพของสินค้า และสภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังทำความสะอาดง่าย กันน้ำด้วยตัววัสดุเองอยู่แล้ว
    • ข้อเสียคือ จะมีผิวสัมผัสที่แข็งกว่า PU เล็กน้อย เมื่อเสื่อมสภาพจะเกิดการแข็งและแตกระแหง เหมือนดินแห้งแตก หลุดแตกออกมาเป็นชิ้นๆ
  3. Microfiber
    • ข้อดีคือ ให้ความรู้สึกเหมือนหนังแท้ แต่ผิวสัมผัสนุ่มสบายเหมือนผ้า ถ่ายเทอากาศดีกว่าทั้งสองตัวที่กล่าวมา เนื่องจากมีความเป็นเนื้อผ้าที่สร้างลายเหมือนหนัง สามารถตกแต่งพิเศษเพื่อการสะท้อนน้ำได้ และสามารถถอดไปซักทำความสะอาดได้ ในกรณีที่เป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อถอดซักได้
    • ข้อเสียคือ เนื่องด้วยวัสดุมันก็ยังเป็นผ้า เพราะฉะนั้นยังสามารถเปื้อนง่ายกว่าตัว PU, PVC แต่การเสื่อมสภาพของผ้า จะน้อยกว่า นอกจากจะเกิดการขาดของผ้าจากแรงกระทำ จากการใช้งานเป็นเวลานานๆ

“Thank you for choosing to use synthetic leather. Your decision helps reduce animal cruelty and supports sustainable” Moo-moo

สามารถดูตัวอย่างสินค้าได้ที่

HOSPITAL CURTAIN TRIM จำเป็นอย่างไร ?

ม่านโปร่งตาข่ายต่อผ้า สำหรับผ้าม่านโรงพยาบาล

ผ้าม่านสำหรับโรงพยาบาล (Cubicle Curtain or Hospital Curtain) เป็นม่านที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น เวลาฉีดยา หรือการรักษาอาการที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แต่ยังคงต้องการการถ่ายเทอากาศที่ดี ม่านโรงพยาบาลส่วนใหญ่มี 2 แบบคือ

  1. แบบม่านที่ลดระดับความสูงจากระดับฝ้าลงมาเป็นช่องถ่ายเทอากาศ โดยใช้รางม่านห้อยต่ำลงมา ข้อดีของม่านขนิดนี้คือ สามารถใช้ผ้าม่านปกติเพื่อการปิดบังสายตาได้เลย ข้อเสียคือ ต้องมีการติดตั้งร่างม่านแบบพิเศษที่ห้อยลงมาจากระดับฝ้าให้เป็นช่องถ่ายเทอากาศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่แพงขี้น ความแข็งแรงคงทน และความสวยงามน้อยกว่าแบบที่สอง
  2. แบบม่านที่ติดระดับฝ้าปกติ แต่มีการตัดต่อผ้าตาข่าย เพื่อช่วยระบายอากาศ ข้อดีคือสามารถติดตั้งรางม่านแบบปกติ ที่มีความแข็งแรงคงทน และความสวยงามมากกว่า ไม่มีเส้นรางรกสายตา แต่ต้องใช้การต่อม่านตาข่ายหรือม่านโปร่งด้านบนเพื่อการระบายอากาศแทน

และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัย ผ้าโรงพยาบาลควรมีคุณสมบัติกันไฟด้วย

สามารถดูสินค้าของเราได้ที่ : http://www.nitas-tessile.com/product/90019-brickwork/

ขายเป็นหลา? วิธีคำนวณหลา

อยากได้ผ้าเป็นเมตร แต่ร้านขายผ้าไปหลา โอ้ย! คำนวณยังไงดีเนี่ย หลายๆ คนมักประสบปัญหาเวลาไปซื้อผ้าแล้วงงว่าผ้าหนึ่งหลากับหนึ่งเมตรมันต่างกันอย่างไร วันนี้ Nitas Tessile จะพาทุกคนมาคำนวณหลาเป็นเมตรแบบง่ายๆ กัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักการวัดซึ่งที่นิยมใช้ในการวัดผ้ามี 2 ระบบคือระบบเมตริก (Metric system) และระบบอังกฤษ (Imperial system)

ระบบเมตริก (Metric System)

เป็นระบบการวัดที่มีพื้นฐานมาจากเลขฐานสิบ

  • 10 มิลลิเมตร = 1 เซนติเมตร
  • 100 เซนติเมตร = 1 เมตร
  • 1,000 เมตร = 1 กิโลเมตร

ระบบอังกฤษ (Imperial System)

เป็นหน่วยวัดโบราณที่ใช้กันมาตั้งแต่ศริสต์ศตวรรษที่ 12 ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายในหลายประเทศ

  • 8 หุน = 1 นิ้ว
  • 12 นิ้ว = 1 ฟุต
  • 3 ฟุต = 1 หลา
  • 1,760 หลา = 1 ไมล์

แล้วผ้า 1 หลา เท่ากับกี่เมตร?

ผ้าเมตร คือ ความยาวผ้า 1 เมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร
ผ้าหลา คือ ความยาวผ้า 1 หลา เท่ากัน 90 เซนติเมตร
การคิดผ้าหลาเป็นผ้าเมตรง่ายๆ คือ ผ้า 1 หลา เท่ากับ 0.9 เมตร

ส่วนใหญ่ร้านผ้าม่านให้เราซื้อผ้าในจำนวนขั้นต่ำ 1 เมตร แต่ความแตกต่างระหว่าง 1 เมตร กับ 1 หลา นั้นน้อยมากไม่ถึง 10 เซนติเมตร แต่หากซื้อผ้าจำนวนมากความแตกต่างระหว่างจำนวนเมตรและจำนวนหลาจะยิ่งมากขึ้น เช่น ถ้าซื้อผ้าจำนวน 100 หลา จะได้ผ้าเพียงแค่ 90 เมตร ซึ่งมีความแตกต่างเกือบ 10 หลา


ถ้าอยากได้ผ้า 1 เมตร ต้องซื้อกี่หลา? หากเราต้องการผ้าเป็นเมตร แต่ทางร้านขายด้วยระบบหลา เราสามารถเปลี่ยนหลาเป็นเมตรได้ง่ายๆ นั่นคือ

การคำนวณตามที่กล่าวมา ทำให้เราสามารถคำนวณเมตรเป็นหลาได้ง่ายๆ หากเป็นจำนวนมากๆ เราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคิดเลขจากทางร้านช่วยคำนวณ แต่ที่สำคัญคือความถูกต้อง หากเราซื้อผ้าจำนวนน้อยอาจจะดูต่างกันไม่มาก แต่หากซื้อจำนวนมาก ความแตกต่างมีมากมายเลยที่เดียว