fbpx

สัญลักษณ์ Oeko-Tex Standard 100

Oeko-Tex Standard 100
การรับรองคุณภาพมาตรฐาน

สัญลักษณ์ OEKO-TEX Standard 100 คือ สัญลักษณ์ที่ให้กับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ระดับสากล จากสถาบันทดสอบสิ่งทอ (The International Association for Research and Testing in the Field of Textile Ecology : OEKO) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเชื่อมั่น และไว้วางใจ โดยเป็นที่ยอมรับกันระดับสากลว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย สารตกค้างในผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เช่น เส้นด้าย หรือผ้า รวมถึงผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ โดยใช้การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลกสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอซึ่งรับประกันว่าปราศจากสารที่เป็นอันตราย เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1992 และตั้งแต่นั้นมาก็กลายเป็นหนึ่งในใบรับรองที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การรับรองแบ่งออกเป็นสี่ประเภทผลิตภัณฑ์ ตามวัตถุประสงค์การใช้งานของผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแต่ละประเภทมีเกณฑ์การทดสอบเฉพาะ สี่ประเภทผลิตภัณฑ์คือ

  • Product Class I: ผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับทารกและเด็กเล็กอายุไม่เกิน 36 เดือน เช่น เสื้อผ้า เครื่องนอน และของเล่น
  • Product Class II: ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สัมผัสผิวหนังโดยตรง เช่น ชุดชั้นใน เสื้อยืด และถุงเท้า
  • Product Class III: ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ไม่สัมผัสผิวหนังโดยตรง เช่น แจ็กเก็ต เสื้อโค้ท และเสื้อผ้าชั้นนอกอื่นๆ
  • Product Class IV: วัสดุตกแต่ง เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ และผ้าบุนวม

การได้รับการรับรอง OEKO-TEX Standard 100 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดโดยห้องปฏิบัติการอิสระที่ได้รับการรับรองโดย OEKO-TEX เกณฑ์การทดสอบได้รับการปรับปรุงทุกปีเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดและข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ

การรับรอง OEKO-TEX Standard 100 ช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ซื้อนั้นปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ผลิตสิ่งทอมีความได้เปรียบในการแข่งขันโดยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืนและแนวทางปฏิบัติในการผลิตที่มีความรับผิดชอบ

ผลิตภัณฑ์จากผืนผ้าในกลุ่มสำหรับตกแต่งที่อยู่อาศัย เช่น พรม, ผ้าม่าน, ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์, ผ้าปูโต๊ะ ฯลฯ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกจัดอยู่ใน Product Class IV : Decoration Material โดยโรงงานผู้ผลิตที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ OEKO-TEX Standard 100 บนผลิตภัณฑ์ได้ ต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด ทั้งในด้านกระบวนการผลิต และทางด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ปรากฎสัญลักษณ์ OEKO-TEX Standard 100 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และปลอดภัยจากสารพิษ สำหรับทุกชีวิตที่คุณรัก

คุณสามารถหาผ้าดังกล่าวจากผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ จากการสังเกต
สัญลักษณ์ OEKO-TEX Standard 100 ดังรูปด้านล่างนี้




ผ้าที่ได้รับมาตรฐาน OEKO-TEX คลิก!!!

เล่มตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐาน OEKO-TEX คลิก!!!

ทิศทางของลายผ้า ทำไมต้องรู้ ?

ในการตัดเย็บผ้าม่าน สิ่งที่สำคัญมากคือการวางทิศทางของลายผ้าให้ถูกต้อง เพื่อการตัดเย็บที่สวยงาม และลายผ้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังสะดวกต่อผู้ใช้งานในการตัดสินใจซื้อ  และสะดวกในการทำงานของช่างในการตัดเย็บผ้าม่าน

ผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์จะมีทิศทางการใช้ผ้าที่แตกต่างกัน เช่น ผ้าหน้า 140 ซม. เวลาต่อผ้าจะต่อในแนวริมผ้า ถ้าทิศทางของผ้าเป็นลายตั้ง (ริมผ้าอยู่ทางซ้าย-ขวา) ม่านจะได้ลายเป็นลายแนวตั้งเช่นกัน หากผ้าเป็นผ้าหน้ากว้าง 280-300 ซม. ลายเป็นแนวตั้ง (ริมผ้าอยู่ทางซ้าย-ขวา) ซึ่งผ้าหน้ากว้างเวลาใช้งานนิยมกลับผ้าใช้โดยไม่ต่อผ้า ให้ริมผ้าอยู่ด้านบนและขอบหน้าต่าง ฉะนั้นลายผ้าที่ได้ออกมาจะเป็นแนวนอน เมื่อม่านติดตั้งสำเร็จ

ในกรณีผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ มักจะมีแต่ผ้าหน้าปกติ โดยปกติแล้วในการบุเฟอร์นิเจอร์มักจะกลับผ้าโดยริมผ้าจะอยู่แนวบนล่าง เพราะเฟอร์นิเจอร์จำพวกโซฟามักมีความยาวเกินกว่าหน้าผ้าที่จะห่อหุ้มได้ ฉะนั้นจึงนิยมกลับผ้าเพื่อให้ได้ความยาวตลอดตัวโซฟา หรือจะต่อผ้าเป็นตะเข็บตรงกลางเหมือนสไตล์โซฟาหนัง โดยมีการจำกัดของความกว้างวัสดุก็ทำได้เช่นกัน

ฉะนั้นหากจะเลือกซื้อผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ควรดูว่าเป็นผ้าหน้ากว้าง หรือหน้าปกติ และดูทิศทางของลายผ้า เพื่อการตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด โดยในแคตตาล็อกของเรามีสัญลักษณ์กำกับ โดยดูจากรูปไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ


‘Dual Purpose’ บุก็ได้ ม่านก็ดี

การเลือกผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการตกแต่งบ้าน  ทั้งประโยชน์ในการใช้สอย และยังช่วยสร้างอารมณ์ และบรรยากาศของบ้านให้น่าอยู่อบอุ่นมากยิ่งขึ้น สีสันของผ้าและลวดลายสะท้อนรสนิยมของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี ในที่นี้เราจะมาพูดถึงผ้าประเภท Dual Purpose ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในการแต่งบ้านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผ้า Dual Purpose สามารถนำมาใช้เป็นทั้งผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งหากมองดูเผินๆ ก็จะมีลักษณะเหมือนผ้าม่านทั่วไป แต่หากพูดถึงคุณสมบัติของเนื้อผ้าในการใช้งานในรูปแบบของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์แล้ว สามารถนำไปบุเฟอร์นิเจอร์ได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติด้าน RubTest (ความแข็งแรงที่ทนต่อการเสียดสี) เทียบเท่ากับผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เช่นกัน โดยลักษณะของผ้า Dual Purpose จะมีความพริ้วบางเหมือนผ้าม่านแต่มีความทนทานต่อการเสียดสีได้มาก เหมาะแก่การนำมาใช้เป็นทั้งผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

สำหรับเราแล้ว คุณสามารถสังเกตสัญลักษณ์ง่ายๆ เมื่อคุณเลือกซื้อผ้าม่านหรือ ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ กับบริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด ตามตัวอย่างข้างล่างนี้

ดูผ้าม่านก็ได้บุก็ดีได้ที่นี้ คลิก!!!


ผ้าที่ใช้ได้ทั้งหน้า และหลังมีด้วยเหรอ ?

ผ้าที่ใช้ได้ทั้งหน้า และหลัง Revers-able fabric  ในกระบวนการทอผ้าทั้งในแบบ Dobby และ Jacquard ที่ทำเทคนิคให้เกิดลวดลายที่สวยงามกับผืนผ้า บางครั้งสามารถสร้างสรรค์ลวดลายทั้ง 2 ด้านสลับกัน สามารถเลือกได้ทั้ง 2 ด้านว่าชอบน้ำหนักของด้านใดมากกว่ากัน เช่น ถ้าเราใช้เส้นด้ายสองชนิด ด้านหนึ่งเป็นพื้นผิวด้านตัวลายเป็นมันเงา กลับอีกด้านก็จะเป็นพื้นผิวมันเงาและตัวลายด้าน เป็นต้น โดยความสวยงามทั้งสองด้านขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าชอบด้านใดมากกว่ากัน หรือเป็นผ้าที่มีการทอแบบพิเศษที่หน้าผ้าและหลังผ้าให้บุคคลิกที่แตกต่างกันออกไป เหมือนซื้อผ้า 1 ครั้งได้ผ้าถึง 2 ผืนเลยที่เดียว

สำหรับเราแล้ว คุณสามารถสังเกตสัญลักษณ์ง่ายๆ เมื่อคุณเลือกซื้อผ้าม่าน กับเรา
บริษัท นิทัส เทสซิเล จำกัด ตามตัวอย่างข้างล่างนี้


Dim-Out VS Blackout

ก่อนจะมาเปรียบกัน ว่าใครดีกว่าใคร เรามาดูความแตกต่างกันก่อนว่า ผ้าม่านกันแสง Dim-Out และผ้าม่านทึบแสง Blackout มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร

  • ผ้าม่านกันแสง หรือผ้าม่านดิมเอาท์ (Dim Out Curtain) เป็นผ้าม่านที่มีคุณสมบัติกันแสง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ‘ผ้าม่าน UV’ ผ้าดิมเอาท์นี้แสงสามารถรอดผ่านน้อยกว่า 20% ไม่สามารถมองเห็นวิวด้านหลังผ้า ขนาดกว้างโดยขนาดประมาณ 135-320 ซม. เป็นผ้าม่านที่ทอแบบพิเศษ โดยเป็นผ้า 3 ชั้น จะมีเส้นด้ายสีดำทออยู่ระหว่างชั้นผ้าเหมือนแซนวิช ซึ่งด้ายดำนี้ทำให้ผ้าดิมเอาท์มีคุณสมบัติกันแสงได้มากกว่าผ้าม่านปกติ จากลักษณะการทอพิเศษดังกล่าว จึงทำให้ผ้าดิมเอาท์มีคุณสมบัติการกันรังสี UV มากกว่าผ้าม่านปกติทั่วไป เนื่องจากเส้นด้ายสีดำนั้นมีคุณสมบัติการดูดซับรังสี UV มากกว่าสีอื่นๆ จึงทำให้ผ้าดิมเอาท์มีคุณสมบัติป้องการรังสี UV เข้าสู่ห้องของคุณ แม้ว่าสีผ้าจะไม่ใช่สีดำ แต่มีการทอสอดด้ายสีดำไว้ระหว่างขั้นของผ้า ผ้าดิมเอาท์ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นเรียบ หากเป็นลวดลายจะเป็นลวดลายที่ส่วนใหญ่ใช้เทคนิค การปั๊มลาย Embossing, การพิมพ์ลาย Printing, หรือทอลายที่เป็นเทกเจอร์เล็กน้อย หลังผ้าทอด้วยลายทอต่วน (Satin) เพื่อความเรียบเนียบ และลดการขัดกันของด้ายยืน และด้ายพุ่งให้มากที่สุดเพื่อลดช่องว่างที่จะทำให้แสงรอดผ่าน ไม่นิยมทอลายด้วยลายทอแจคการ์ด (Jacquard) เพราะในระหว่างช่วงลายจะทำให้มีช่องว่างให้แสงรอดผ่านได้ 
  • เหมาะสำหรับห้องที่ไม่ต้องการแสง หรือแสงรบกวนในตอนเช้า เช่น ห้องนอน หรือห้องนอนโรงแรม แต่ไม่นิยมกับห้องที่ต้องการการกรองแสงลดส่วนหนึ่ง และปิดบังทัศนียภาพ เมื่อยามจำเป็นที่ต้องการความส่วนตัว เช่น ห้องทานข้าว หรือห้องนั่งเล่น

  • ผ้าม่านทึบแสง หรือผ้าม่านแบรคเอาท์ (Black Out Curtain) คือผ้าม่านที่มีความทึบแสง 100% แสงไม่สามารถลอดผ่านเลยแม้กระทั่งผ้าม่านเป็นสีขาวก็ตาม และไม่สามารถมองเห็นวิวด้านหลังผ้า ขนาดกว้างโดยประมาณ 135-150 ซม. ไม่นิยมเป็นผ้าหน้ากว้าง ที่กว้างอยู่ราวๆ 280-320 ซม. เพราะอุปสรรคด้านการขนส่งที่ไม่นิยมพับ เป็นผ้าม่านที่ทอแบบปกติทั่วไปทั้งมีลวดลาย และไม่มีลวดลาย แต่จะมีเคลือบด้านหลังผ้าด้วย ส่วนใหญ่จะเคลือบ 3 ชั้น และ 4 ชั้น ในกรณีของการเคลือบด้วยโฟมสีขาว (Foam Coating) ชั้นบนสุดและโฟมสีดำแทรกในชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ของผ้าจะเป็นการเคลือบด้วยโฟมสีขาวดังกล่าว หรือในกรณีของการเคลือบด้วยซิลิโคน จะเป็นการเคลือบชั้นที่ 4 ด้วย Silicone เป็นชั้นสุดท้าย การเคลือบโฟมและซิลิโคน มีคุณสมบัติในการกันแสงสว่างเข้ามาภายในห้องถึง 100%
  • เหมาะสำหรับห้องที่ไม่ต้องการแสง หรือแสงรบกวนในตอนเช้า เช่น ห้องนอนโรงแรม, โฮมเทียเตอร์, ห้องที่โดนแดดช่วงบ่าย เป็นต้น

ส่วนผ้าชนิดไหนจะดีกว่ากันก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การนำไปใช้ ในห้องที่เหมาะสม เช่นผ้าม่านกันแสง Dim-out สามารถกันแสงได้เฉลี่ย 85% แต่เปอร์เซ็นต์การกันแสงนี้จะขึ้นอยู่กับสีของผ้าด้วยเช่นสีอ่อนๆ สีขาวความสามารถก็จะลดลงต่ำกว่า 85% ส่วนถ้าเป็นสีเข้มๆ สีดำ ก็จะกันแสงได้มากกว่า85% เช่นกัน แต่ยังให้ความรู้สึกเป็นผ้านุ่มเข้าลอนได้ดีตามแบบผ้าม่านปกติ ส่วนผ้าทึบแสง Blackout กันแสงได้ 100% ไม่มีผลกับสีของผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าสีขาวก็ตาม เพราะด้วยการเคลือบดังกล่างข้างต้น ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ผ้ามีความไม่กระด้างเล็กน้อยด้วยเช่นกัน

ผ้าม่านทั้ง 2 ประเภทนี้ ยังสามารถป้องกันความร้อนและดูดซับรังสี UV ที่จะส่องผ่านเข้ามาภายในห้อง ช่วยประหยัดพลังงานจากการใช้เครื่องปรับอากาศ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ผ้าม่าน Dim-out และ Black out เหมาะกับทุกห้องภายในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน และห้องโฮมเธียเตอร์ นอกจากนั้นออฟฟิตสำนักงาน และโรงแรมต่างๆ ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน


คุณสามารถทราบถึงคุณสมบัติดังกล่าวของผ้า NITAS TESSILE ได้ง่ายๆ จากการสังเกตุสัญลักษณ์ ดังรูปด้านล่างนี้

ดูเล่มตัวอย่างผ้าม่านกันแสง (Dim-out) คลิก

ดูเล่มตัวอย่างผ้าม่านทึบแสง 100% (Blackout) คลิก

ดูแผ่นพับตัวอย่างผ้าม่านกันแสง (Dim-out) คลิก

ดูเนื้อผ้าม่านกันแสง (Dim-out) คลิก

ดูเนื้อผ้าม่านทึบแสง 100% (Blackout) คลิก


รู้หรือไม่ ‘ผ้ากำมะหยี่ (Velvet)’ ผลิตอย่างไร ?

ผ้านุ่มๆ ขนๆ ละเอียดๆ ที่เราเห็น ความจริงแล้วเป็นผ้าที่มีเทคโนโลยีในการทอขั้นสูง  ผ้า Velvet หรือผ้ากำมะหยี่ เป็นผ้าที่ใช้เครื่องชนิดพิเศษที่ทอผ้า ด้วยวิธี Face to Face คือการทอสองชั้นเหมือนแผ่นขนมปัง 2 แผ่น ในแซนวิส คู่ขนาดกันไป โดยมีเส้นการทอยึดโยงขึ้นลงระหว่างชั้นเหมือนใส้ของแซนวิส และที่หน้าอัศจรรย์คือเมื่อทอเสร็จแล้ว จะมีใบมีดตัดกลางระหว่างชั้นของพื้นผ้าด้านบนและด้านล่าง ทำให้แยกออกเป็นสองส่วน และทำให้ได้ หน้าผ้าที่เป็นขนนุ่มๆ พร้อมกัน 2 ผืนในการทอเพียงครั้งเดียว


แบบม่านที่นิยมใช้ตกแต่งบ้าน

ที่ผ้าม่านเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักใบการตกแต่งที่อยู่อาศัย ทั้งบ้าน คอนโด หรือหอ ผ้าม่านนอกจากจะตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว ยังมีประโยชน์ต่างๆ ตามคุณสมบัติของผ้าม่าน เช่น กันแสง ทึบแสง เป็นต้น แล้วแบบม่านที่นิยมใช้ตกแต่งบ้านมีแบบไหนกันบ้าง? ไปทำความรู้จักกันเลย


Tab top curtains/Loops Curtains: ม่านคอกระเช้า

ผ้าม่านคอกระเช้า เนื่องจากรูปแบบหูม่าน หรือสายคล้องม่านมีลักษณะคล้ายเสื้อคอกระเช้า โดยใช้ตัวผ้ามาทำเป็นหูแทนห่วง หรือตะขอ รางที่ใช้ต้องเป็นรางโชว์เท่านั้นตามสไตล์ของแต่ละบ้าน เช่น รางไม้สัก รางเหล็ก ซึ่งอาจจะมีหัวไม่เหมือนกัน ม่านชนิดนี้ให้ความเรียบง่าย สบายตา ดูไม่มีอะไรซับซ้อน เหมาะกับห้องทุกสไตล์


Pinch Curtain: ม่านจีบ

ม่านสไตล์คลาสสิกที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก แบบผ้าม่านจะมีจีบเล็กๆ 3 จีบ อยู่บริเวณหัวผ้าม่านหรือด้านบนของผ้าม่าน การจับจีบจำนวน 3 จีบ เป็นจำนวนที่เป็นมาตรฐานที่สวยงามและนิยมใช้มากที่สุด การแขวนม่านสามจีบจะใช้ระบบตะขอแขวน โดยรางที่ใช้เป็นได้ทั้งรางโชว์ รางเชือก หรือรางไมโครก็ได้ ม่านชนิดนี้ทำให้ห้องมีความเรียบหรู ดูดีมีระดับ เหมาะกับห้องทุกประเภท


Grommet Curtains: ม่านตาไก่

ม่านที่มีห่วงตาไก่ (Eyelet Rings) อยู่ที่หัวผ้าม่าน การตัดม่านตาไก่ควรเผื่อลอนของม่านด้วย จะทำให้ห้องดูมีมิติมากขึ้ สามารถตัดได้ทั้งแบบใช้ผ้าน้อย ไม่ต้องเผื่อลอนให้นูนมากเพื่อประหยัดงบ หรือการใช้ผ้ามากเพื่อให้ลอนคลื่นมีความพริ้วไหวและสวยงามมมากกว่า รางที่ใช้สำหรับม่านตาไก่ เหมาะะสำหรับรางโชว์เท่านั้น หากจะนำมาซักต้องทำห่วงตาไก่ออกก่อนซักด้วย ม่านตาไก่เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์นที่ต้องการให้ห้องดูมีเสน่ห์ และมีระดับมากขึ้น


Ripple fold curtains: ม่านลอน หรือม่านลอนเอส

เป็นม่านที่มีลอนรูปตัว S ต่อกันไปเรื่อย ไม่ต้องจับจีบ ใช้เพียงอุปกรณ์สำหรับม่านลอน เช่น โซ่ หรือเชือก ม่านชนิดนี้จะทำให้เห็นลายผ้าสวยๆ โดยไม่เสียเนื้อที่ผ้าสำหรับจัดลอนม่าน รางที่เหมาะสำหรับม่านชนิดนี้คือ รางแบบลูกล้อ ทำให้ใช้งานง่ายสะดวก ลื่นไม่สะดุด ม่านลอน S เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความเรียบหรู ดูดี ทันสมัย


Roman Blind: ม่านพับ

เป็นม่านแบบแบนเรียบใช้ระบบเชือกในการดึงเก็บม่าน ผ้าม่านจะถูกเก็บไปด้านบนของผ้าม่าน ผ้าม่านพับเหมาะสำหรับสำหรับหน้าต่างแคบ รางม่านที่เหมาะสำหรับม่านพับคือ รางระบบโรตารี่ ม่านพับเหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความเรียบหรู ทำให้บรรยากาศห้องมีความสดใสสวยงาม


นอกจากนั้นก็ยังมีม่านอื่นๆ อีก


Rod Pocket Curtains: ผ้าม่านร้อยท่อ

ผ้าม่านที่เย็บมีช่องสำหรับสอดรางท่าน และใช่การรูดเพื่อการย่นผ้าม่าน


Box Pleat Curtains: ผ้าม่านจับจีบแบบกล่อง

ผ้าม่านเหล่านี้มีลักษณะการจับจีบที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ซึ่งสร้างลุคที่เป็นทางการและเหมาะเจาะ


Café Curtains: ม่านคาเฟ่

ม่านเหล่านี้ปิดเฉพาะส่วนล่างของหน้าต่าง ให้ความเป็นส่วนตัวในขณะที่แสงยังส่องเข้ามาได้


Tier Curtains: ผ้าม่านชั้น

ผ้าม่านเหล่านี้มักใช้ในห้องครัวและห้องน้ำ และปิดเฉพาะส่วนล่างของหน้าต่างโดยเปิดส่วนบนทิ้งไว้


Tie-up curtains: ผ้าม่านผูก

ผ้าม่านเหล่านี้มีผ้าผูกหรือสายที่ช่วยให้สามารถยกขึ้นและลงได้ คล้ายกับร่มโรมัน


Balloon curtains ผ้าม่านทรงบอลลูน

ผ้าม่านเหล่านี้คล้ายกับผ้าม่านของออสเตรีย แต่จะมีปริมาตรและพองตัวมากกว่า คล้ายกับรูปทรงของลูกโป่ง


Panel curtains ผ้าม่านแผง

เป็นผ้าชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ปิดหน้าต่างหรือกั้นห้องได้


Japanese Noren curtains ม่านญี่ปุ่น หรือม่านโนเรน

เป็นม่านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่แขวนไว้ตามประตูหรือใช้กั้นห้อง โดยมักมีลวดลายสีสันสวยงามหรือมีอักษรวิจิตร


Austrian Curtains/Brail curtains ผ้าม่านออสเตรีย

ผ้าม่านเหล่านี้มีลักษณะเป็นผ้าจับจีบหรือผ้าจับจีบที่ดึงขึ้นมาเป็นของประดับตกแต่ง ทำให้ดูน่าทึ่งและสง่างาม


French Door Curtains: ผ้าม่านประตูฝรั่งเศส

ผ้าม่านนี้เย็บมาให้ขนาดให้พอดีกับหน้าต่างแคบๆ ที่มักพบในประตูฝรั่งเศส ให้ความเป็นส่วนตัวและควบคุมแสงได้


ม่านที่เป็นการประดับมากกว่าการใช้งาน

ยังมีม่านแบบต่างๆ หรือส่วนเสริมจากตัวม่านหลัก ที่เน้นการตกแต่งเพิ่มความสวยมชงามมากกว่าใช้งานจริง


Valance Curtains: ม่านแขวนประดับ

เป็นม่านตกแต่งที่แขวนไว้ที่ด้านบนของหน้าต่าง มักใช้เพื่อเพิ่มสีสันและสไตล์ให้กับห้อง


Swag Curtains: ม่านย้อย

เป็นม่านตกแต่งที่ห้อยเหนือราวม่านและห้อยลงมาที่ด้านใดด้านหนึ่งของหน้าต่าง มักจะจับคู่กับม่านแขวน


Jabot Curtains: ม่านหางปลา

ผ้าม่านเหล่านี้มีราวแขวนแบบโค้งยาวที่ด้านบน มีผ้าซ้อนกันทั้งสองด้าน ทำให้เกิดเอฟเฟกต์ย้อย


Scarf curtains: ม่านผ้าพันคอ

เป็นผ้าผืนยาวที่พลิ้วไหวสามารถพาดผ่านราวม่านและจัดทรงได้หลากหลายวิธี


Beaded curtains ม่านลูกปัด

ม่านทำมาจากลูกปัดหรือคริสตัล และมักใช้เป็นฉากกั้นห้องหรือเป็นเครื่องประดับชิ้นเด่นในห้อง


Macrame curtains: ม่านมาคราเม่

ม่านนี้ทำจากเชือกมาคราเม่ที่ผูกปมหรือถักทอ เพิ่มลุคโบฮีเมียนและเท็กซ์เจอร์ให้กับห้อง และดูเป็นการโชว์ฝีมือ อีกด้วย


ส่วนเสริมอื่นๆ ของม่าน

คือส่วนประกอบอื่นๆ ที่ช่วยเสริมความสวยงามของม่าน


Cornice curtains: บัวกล่องม่าน/กล่องม่าน

โครงไม้หรือหุ้มเบาะที่ด้านบนของหน้าต่าง เพิ่มองค์ประกอบตกแต่งและให้รูปลักษณ์ให้ลงตัว และเพื่อปิดรางและหัวม่าน


Tassel fringe: พู่ประดับ

พู่ตกแต่งหรือขอบเย็บติดกับขอบผ้าม่าน เพิ่มความสวยงามและความน่าสนใจ


มารู้จักกับ ‘ผ้า’ กันเถอะ

ผ้า (Fabric)  หมายถึง วัสดุชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นแผ่น  และผ่านกระบวนการผลิตจากเส้นใย  ธรรมชาติ หรือสังเคราะห์  เกิดเป็นเส้นด้าย และผ่านกรรมวิธีผลิตจนได้เป็นผืนผ้า

         ประเภทของผ้าแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • ประเภทผ้าทอ (weaving fabric) กรรมวิธีการนำเส้นด้ายมาขัดกัน มีเส้นใยด้าย คือ เส้นด้ายยืน (Warp yarn)  และเส้นด้ายพุ่ง (Weft yarn)
  • ประเภทผ้าถัก (Knitted fabric) การนำเส้นด้ายต่อกันเป็นห่วง (Interlock loops) มีเส้นใยด้าย คือ เส้นด้ายแนวตั้ง (Wales) และเส้นด้ายแนวนอน (Course)
  • ประเภทผ้าไม่ถักไม่ทอ หรือผ้า นอนวูฟเวน (Non woven fabric) มีลักษณะโครงสร้างเป็นแผ่นผ้าที่เกิดจากการสานไปมาของเส้นใย (fibrous web) มีการยึดกันด้วยการ ที่เส้นใยพันกันไปมา (mechanical entaglement) หรือโดยการ ใช้ความร้อน เรซิน หรือสารเคมีในการทำให้ เกิดการยึดกันระหว่างเส้นใย

โดยส่วนใหญ่แล้วผ้าที่นิยมนำมาทำผ้าม่าน และผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท ผ้าทอ  (weaving fabric) และมีบางส่วนที่เป็นผ้าถัก ซึ่งจะปรากฎในผ้าม่านโปร่ง และผ้าที่เป็นลักษณะทอแบบ ผ้า Velvet หรือผ้ากำมะหยี่ ส่วนผ้านอนวูฟเวน ไม่เป็นที่นิยม และแถบจะไม่ค่อยปรากฎเป็นผ้าม่านและผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เพราะการควบคุมความสม่ำเสมอของผ้าทำได้ยาก ไม่สามารถทอหรือถักเป็นลวดลายได้ นอกจากมีกระบวนการพิมพ์เพิ่มเติม และความคงทนต่อแรงขัดถู มีน้อยกว่าผ้าทั้งสองประเภทข้างต้น

เส้นใยจากธรรมชาติ เส้นใยจากมนุษย์ทำขึ้น
เส้นใยจากแร่
เส้นใยจากสัตว์
เส้นใยจากพืช
สังเคราะห์จากธรรมชาติ
สังเคราะห์จากกลุ่มปิโตรเลียม
เมล็ด
ใบ
ลำต้น
แร่ใยหิน
ไหม, ขนสัตว์
ฝ้าย, มะพร้าว
สับปะรด, ป่านศรนารายณ์
ลินิน, ป่าน, ปอ, กัญชง
เรยอน,  เซลลูโลสแอซีเตด
พอลิเอสเตอร์, ไนลอน, อะคริลิก,  สแปนเด็กซ์
จากตาราง จะเห็นว่าเส้นใยมีความหลากหลายของที่มาเป็นอย่างมาก แต่ในส่วนของวงการผ้าเพื่อการตกแต่งที่อยู่อาศัย แล้วก็ใช้เส้นใยหลักๆ ตามตัวอักษรสีแดง

โดยเส้นใยที่นำมาทำผ้ามี 3 ชนิด ดังต่อไปนี้

   1.  เส้นใยที่ทำจากธรรมชาติ 100%  (Natural fiber) แบ่งได้เป็นประเภท ดังต่อไปนี้

          เส้นใยไหม (Silk) ใยไหมเป็นโปรตีนของรังไหม นำมาปั่นจนได้เป็นเส้นด้าย และนำมาทอ หรือถักเป็นผืนผ้า คุณสมบัติของผ้าไหม คือมีความนุ่มมือ เงางามจับตา ไม่ยับง่าย หรือไม่ยับเลย คงสภาพของผ้าได้ดี ดูดความชื้นได้ดีพอสมควร ใส่สบาย  และสามารถปรับอุณหภูมิได้  หากใส่ในฤดูหนาวจะรู้สึกอบอุ่น นอกจากนั้นยังสามารถติดไฟได้ เวลาผ้าไหม้จะหด และไหม้เป็นขี้เถ้าการทำความสะอาดต้องซักด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อนเท่านั้น เพราะผงซักฟอกที่มีกรดแรงจะทำลายเนื้อผ้า การรีดต้องนำมาฝ้ายมารองก่อนรีด

          เส้นใยลินิน (Linen) ผลิตจากเส้นใยของต้นลินิน หรือต้นแฟล็กซ์ (flax) แล้วนำมาปั่น จนได้เป็นเส้นด้าย จากนั้นนำมาทอ หรือถัก จนเกิดเป็นผืนผ้า ลินินเป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีความคงทน และแข็งแรงที่สุด โดยคุณสมบัติของผ้าลินินจะยับง่าย ซักได้ สามารถ รีดได้ที่อุณหภูมิสูง ลักษณะของผ้าจะมีความมันเงาสวยงาม ผิวเรียบแข็ง ดูดซึมน้ำได้ดี และติดไฟได้ เวลาไหม้จะเหมือนกระดาษ หากจะพับผ้าลินินต้องใช้การม้วนเท่านั้น เพราะหากพับเส้นด้ายอาจหัก หรือเสียทรงได้

          เส้นใยฝ้าย (Cotton) ได้มาจากการนำเส้นใยของปุยฝ้า มาปั่นจนเกิดเป็นเส้นด้าย แล้ว แล้วนำมาทอ หรือถัก ให้เป็นผืนผ้า คุณสมบัติของผ้าฝ้าย หรือผ้าคอตตอน (Cotton) คือยับง่าย รีดยาก หด และย้วย แต่บางเบา หากผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่ม จะใส่สบาย โดยปัจจุบันมีกระบวนการในการผลิตเส้นด้ายที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คุณภาพของฝ้ายดีขึ้น ทำให้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ผ้าฝ้ายสามารถซักได้ทั้งเครื่องซักผ้า และซักมือ รีดในอุณหภูมิที่สูงได้ ไม่ไหม้ หรือเกิดการหดตัว ขึ้นราได้ง่ายเนื่องจากเป็นใยฝ้าย นอกจากนั้นยังติดไฟได้  เวลาไหม้ลักษณะจะเหมือนกระดาษไหม้ ไม่มียางเหนียว เป็นขี้เถ้า

          เส้นใยขนสัตว์ (Wool) ผ้าขนสัตว์คือการนำขนสัตว์นำมาปั่น จนเกิดเป็นเส้นด้าย จากนั้นทอ หรือถักเป็นผืนผ้า โดยขนสัตว์ที่นิยมมาใช้ทำเป็นผ้าที่สุด คือขนแกะ คุณสมบัติของขนสัตว์คือ ดูดความร้อน และถ่ายเทความชื้นได้ดี เวลาสวมใส่จึงให้ความอบอุ่น และไม่เหนอะหนะร่างกายขณะสวมใส่ ผ้าขนสัตว์จะหดตัวมากเวลาเปียก จึงควรซักแห้งเท่านั้น และหลังจากซักแห้ง ควรเก็บใส่ถุงพลาสติกเพื่อป้องกันมอด

    2. เส้นใยสังเคราะห์จากสารเคมี (Chemical Synthetic fiber)

         ไนลอน (Nylon) ได้มาจากกระบวนการรวมตัวของปิโตรเคมี จำพวกเบนซิน ฟีนอล ไฮโดรเจน หรือแอมโมเนีย โดยนำมาผ่านกรรมวิธีทางเคมี ผลิตเป็นเส้นด้ายด้วยการถัก หรือทอ คุณลักษณะของผ้าไนลอนคือ ความทนทานสูง รูปร่างของผ้าทรงตัวได้ดี สามารถซักผงซักฟอกได้ ทนต่อเชื้อราและแมลง ทนต่อการขัดสี แต่ขณะใส่จะไม่ค่อยสบายตัว มักผลิตขึ้นมาใช้เป็นเสื้อผ้าที่มีราคาไม่สูง

        โพลีเอสเตอร์ (Polyester) ได้มาจากกระบวนการรวมตัวตัวของปิโตรเคมี จำพวกเอทานอล ผ่านกรรมวิธีทางเคมี จนเกิดเส้นด้าย จากนั้นจึงผ่านกระบวนการถัก หรือทอเป็นผืนผ้า โพลีเอสเตอร์เป็นเส้นใยที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติคล้ายฝ้าย ลักษณะ เป็นเส้นใยยาวนุ่ม เงามัน ดูดความชื้นได้น้อย ผ้ามีความเบาบาง ยับยาก และจับจีบได้ แต่เมื่อใส่ไประยะหนึ่ง ผ้าจะเกิดขุย

        3. เส้นใยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ (Natural Synthetic fiber)

          เรยอน (Rayon) ได้มาจากการนำเปลือกไม้ในธรรมชาติ มาผ่านกรรมวิธีทางเคมี จนเป็นเส้นด้าย จากนั้นจึงผ่านกรรมวิธีด้วยการถัก หรือทอ ผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติเหมือนกับผ้าฝ้าย คือมีความนุ่ม มันเงา สามารถระบายความร้อน และดูดความชื้นได้ แต่ก็ไม่สามารถเป็นผ้าที่ดีกว่าฝ้ายได้ ราคาค่อนข้างถูกนิยมนำมาทดแทนผ้าฝ้าย